ฤทธิ์ป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันของอบเชยจีน

ศึกษาฤทธิ์ป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือดฉียบพลันของสารสกัด cinnamic aldehyde (CA) และ cinnamic acid (CD) จากอบเชยจีน (Cinnamomum cassia ) โดยทำการทดลองในหนูแรทเพศผู้ 9 กลุ่ม (กลุ่มละ 10 ตัว) กลุ่มที่ 1 และ 2 เลี้ยงด้วยอาหารและน้ำปกติ กลุ่มที่ 2-4 ป้อนสารสกัด CA ขนาดวันละ 22.5, 45 และ 90 มก./กก./ตัว ตามลำดับ กลุ่มที่ 5 - 7 ป้อนสารสกัด CD ขนาดวันละ 37.5, 75 และ 150 มก./กก./ตัว ตามลำดับ กลุ่มที่ 8 ป้อนยา propranolol ขนาดวันละ 30 มก./กก/ตัว เมื่อเลี้ยงครบ 14 วัน เหนี่ยวนำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันด้วยการฉีด isoproterenol ขนาด 4 มก./กก. เข้าทางใต้ผิวหนังหนูทุกกลุ่ม ยกเว้นกลุ่มที่ 1 (กลุ่มควบคุม) วันละครั้ง ต่อเนื่องสองวัน หลังฉีด isoproterenol 20 นาที วัดเคลื่อนไฟฟ้าหัวใจของหนูด้วยชุดอิเล็กโทรดแบบเข็ม (needle electrode) จากนั้นทำการผ่าซากแยกหัวใจเพื่อชั่งน้ำหนักและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงด้วยเทคนิคจุลกายวิภาคศาสตร์ และเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อวิเคราะห์ค่าทางชีวเคมีในเลือดที่เปลี่ยนแปลงไป ผลจากการทดลองพบว่า น้ำหนักของหัวใจของหนูแรทที่ถูกป้อนด้วยสารสกัด CA และ CD ลดลง เมื่อเทียบกับหนูที่ฉีด isoproterenol เพียงอย่างเดียว คลื่นไฟฟ้าหัวใจของหนูแรทกลุ่มที่ถูกป้อนด้วยสารสกัด CA ขนาด 45 และ 90 มก./กก. และกลุ่มที่ป้อนด้วยสารสกัด CD ขนาด 75 มก./กก. มีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจในช่วง ST-segment ซึ่งเป็นช่วงที่บ่งบอกถึงการขัดขวางทางส่งสัญญาณไฟฟ้า โดยมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ฉีด isoproterenol เพียงอย่างเดียว และการป้อนสารสกัด CA และ CD ให้แก่หนูมีผลลดค่า creatine kinase-MB, lactate dehydrogenase, tumor necrosing factor-α และ interleukin-6 ซึ่งเป็นดัชนีบ่งชี้ถึงความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจ และเพิ่ม nitric oxide ซึ่งบ่งบอกถึงภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจเกิดการซ่อมแซมความเสียหาย นอกจากนี้สารสกัด CA และCD ยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยมีผลเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ superoxide dismutase และลด malondialdehyde ในกล้ามเนื้อหัวใจอีกด้วย ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า สารสกัด CA และ CD จากอบเชยจีนมีฤทธิ์ยับยั้งและช่วยป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันด้วยกลไกการต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบได้

J Ethnopharmacol. 2013; 150(1): 125-30