ฤทธิ์ยับยั้งการเกิดแผลในระบบทางเดินอาหารของไพล

ศึกษาฤทธิ์ยับยั้งการเกิดแผลในระบบทางเดินอาหารของสารสกัดเมทานอลจากไพล และสารสสกัดไพลที่สกัดแยกด้วยวิธี chromatographic fraction 7 ชนิด โดยทำการทดลองในหนูเมาส์ทั้งเพศผู้และเพศเมีย แบ่งหนูออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 ตัว ป้อนสารสกัดเมทานอลจากไพลให้หนูขนาด 200 และ 400 มก./กก. และสารสกัดไพล 7 ชนิดที่ได้จากการแยกด้วยวิธี chromatographic fraction ขนาด 40 มก./กก. หนูในกลุ่มควบคุมและกลุ่มอ้างอิงป้อนด้วย น้ำขนาด 10 มล./กก. และ ยา omeprazole ขนาด 30 มก./กก. ตามลำดับ หลังการป้อนยาและสารสกัด 1 ชั่วโมง เหนี่ยวนำให้เกิดแผลในระบบทางเดินอาหารด้วยการป้อน 1N HCl ขนาด 0.2 มล. ทำการฆ่าและชำแหละแยกอวัยวะในระบบทางเดินอาหารของหนูภายหลังเสร็จสิ้นการทดลอง 1 ชั่วโมง นำมาตรวจดูลักษณะของการเกิดบาดแผลในทางเดินอาหาร พบว่าการป้อนหนูด้วยสารสกัดเมทานอลจากไพลขนาด 200 และ 400 มก./กก. ก่อนเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในระบบทางเดินอาหาร สามารถยับยั้งการเกิดบาดแผลได้คิดเป็น 61.97% และ 83.10% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม และพบว่าสารสกัดที่ได้จากการแยกด้วยวิธี chromatographic fraction ชนิดที่ 2-6 มีผลยับยั้งการเกิดบาดแผลในทางเดินอาหารของหนูได้ โดยสารสกัดชนิดที่ 2 ให้ผลดีที่สุดคือสามารถยับยั้งได้คิดเป็น 77.46% เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้เมื่อนำสารสกัดชนิดที่ 2 มาผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นด้วยวิธีการตกผลึกด้วย hexane และนำสารที่ได้ไปทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเกิดแผลในระบบทางเดินอาหารจากการเหนี่ยวนำด้วยการป้อนกรด HCl เอทานอล 95% และยา indomethacin พบว่าสารมารถยับยั้งการเกิดบาดแผลในระบบทางเดินอาหารได้ ผลการทดลองดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของสารสกัดจากไพลในการยับยั้งการเกิดแผลในระบบทางเดินอาการ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเป็นยารักษาแผลในระบบทางเดินอาหารที่ได้จากธรรมชาติต่อไปได้

J Ethnopharmacol. 2012; 141: 57-60