ผลของโสมและสาร ginsenoside Ro ต่อเอนไซม์ testosterone 5α-reductase และการงอกของเส้นขน

สารสกัด 50% เอทานอล จากเหง้าโสมแดง (Panax ginseng C. A. Meyer) สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ testosterone 5α-reductase (5αR) โดยที่เอนไซม์ดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับการงอกของเส้นขน ซึ่งการออกฤทธิ์ของสารสกัดดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับขนาดที่ใช้ สารสำคัญในโสมคือ ginsenoside Ro และ ginsenoside Rg3 แสดงฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ 5αR ที่ค่า IC50 เท่ากับ 259.4 และ 86.1 µm ตามลำดับ เช่นเดียวกับสารสกัด 50% เอทานอล จากเหง้าโสมญี่ปุ่น (P. japonicas ) ซึ่งมีสาร ginsenoside Ro อยู่เป็นจำนวนมาก ก็ให้ผลในการยับยั้งเอนไซม์ 5αR เช่นกัน การทดสอบโดยทาสารสกัด 50% เอทานอล จากเหง้าของโสมแดงขนาด 2 มก./ตัว หรือสาร ginsenoside Ro ขนาด 0.2 มก./ตัว ลงบนผิวหนังของหนูเม้าส์ที่ถูกโกนขนออก และถูกยับยั้งการงอกของขนด้วยการได้รับฮอร์โมน testosterone พบว่าหนูที่ได้รับสารสกัดและสาร ginsenoside Ro มีขนขึ้น ซึ่งผลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า สาร ginsenoside Ro สามารถกระตุ้นการงอกของขน โดยผ่านกลไกในการยับยั้งเอนไซม์ 5αR เมื่อทดสอบด้วย androgenetic alopecia model (ยับยั้งการเจริญของเส้นขนด้วยฮอร์โมนแอนโดรเจน)

Phytother Res 2012;26(1):48-53