อันตรกิริยาของสารสกัดจากเถาวัลย์เปรียงกับยาแก้ปวดไดโคลฟีแนคในการเสริมฤทธิ์บรรเทาปวดในหนู

การศึกษาอันตรกิริยาของสารสกัดจากเถาวัลย์เปรียง (Derris scandens (Roxb.) Benth) กับยาแก้ปวดไดโคลฟีแนค (diclofenac) ในการบรรเทาปวดในหนูเม้าส์ที่เหนี่ยวนำให้เกิดอาการปวดด้วยการฉีด acetic acid ทำการทดสอบด้วยการป้อนสารสกัด 50% เอทานอลจากเถาวัลย์เปรียง ขนาด 1, 10, 100 และ 1,000 มก./กก.น้ำหนักตัว หรือป้อนยาไดโคลฟีแนค 1, 10, 50, 100 และ 150 มก./กก.น้ำหนักตัว หรือป้อนสารสกัดจากเถาวัลย์เปรียงร่วมกับยาไดโคลฟีแนค ในอัตราส่วน 1:16, 1:8, 1:4 และ 1:2 พบว่าทั้งสารสกัดเถาวัลย์เปรียง ยาไดโคลฟีแนคและการใช้ร่วมกันต่างแสดงฤทธิ์ระงับอาการปวดได้ตามขนาดของสารที่ได้รับ เมื่อนำไปคำนวนค่า 50% effective dose (ปริมาณของสารตอน้ำหนักตัวที่สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งอาการปวดได้ 50%, ED50) พบค่า ED50 ของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงและยาไดโคลฟีแนค เท่ากับ 35.5 และ 30.4 ตามลำดับ และเมื่อใช้ร่วมกันสามารถลดค่า ED50 ของสารทั้งสองชนิดเหลือเพียง 32.9 และ 29.2 มก./กก.ตามลำดับ และมีค่า interaction index เท่ากับ 0.89 การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดเถาวัลย์เปรียงสามารถเสริมฤทธิ์บรรเทาปวดกับยาไดโคลฟีแนค เมื่อใช้ร่วมกันจะสามารถบรรเทาอาการปวดได้ดียิ่งขึ้น

Asian J Pharm Clin Res 2018;11(1):314-7