สารโพลีฟีนอลจากสตรอเบอรี่และแครนเบอรี่ช่วยฟื้นฟูความไวของเซลล์ต่ออินซูลินในผู้ที่มีน้ำหนักเกินที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานแต่มีภาวะดื้ออินซูลินร่วมด้วย

การศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มปกปิดทั้ง 2 ฝ่าย และคู่ขนาน (parallel, double-blind, controlled and randomized clinical trial) ในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน โดยมีค่าดัชนีมวลกาย (body mass index; BMI) ≥ 25 กก./ตรม. ทั้งชายและหญิงจำนวน 41 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน 20 คน อายุเฉลี่ย 57 ปี ให้ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของสารโพลีฟีนอลจากสตรอเบอรี่และแครนเบอรี่ ในขนาด 333 มก./วัน กลุ่มที่ 2 จำนวน 21 คน อายุเฉลี่ย 60 ปี เป็นกลุ่มควบคุมได้รับเครื่องดื่มที่ไม่มีสารโพลีฟีนอลจากสตรอเบอรี่และแครนเบอรี่ ในปริมาตรที่เท่ากัน นานเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ได้รับสารโพลีฟีนอลจากสตรอเบอรี่และแครนเบอรี่มีความไวของเซลล์ต่ออินซูลินเพิ่มมากขึ้น และสามารถลดการหลั่งอินซูลินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม สารโพลีฟีนอลจากสตรอเบอรี่และแครนเบอรี่ไม่มีผลต่อระดับไขมันในเลือด รวมถึงไม่มีผลต่อระดับของตัวชี้วัดของการอักเสบ (inflammatory marker) ในเลือดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม จากการศึกษานี้สรุปได้ว่า การรับประทานสารโพลีฟีนอลจากสตรอเบอรี่และแครนเบอรี่ ในขนาด 333 มก./วัน มีผลทำให้ความไวของเซลล์ต่ออินซูลินเพิ่มมากขึ้น และทำให้ภาวะดื้อต่ออินซูลินดีขึ้นในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน หรือเป็นโรคอ้วน แต่สารดังกล่าวไม่มีผลเปลี่ยนแปลงระดับไขมันในเลือดซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือ

British Journal of Nutrition 2017;117:519–31.