ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านจุลชีพของสารสำคัญจากน้ำตาลสด

น้ำเชื่อม (ความหวาน 72 °B) ที่ได้จากช่อดอกของต้นตาล Borassus flabellifer Linn. เมื่อนำมาแยกสารให้บริสุทธิ์ด้วยเทคนิคคอลัมน์โครมาโทกราฟี พบว่าสารสำคัญประกอบด้วย 2,3,4-trihydroxy-5-methylacetophenone, nicotinamide, และ uracil จากผลการวิเคราะห์ปริมาณ Total phenolic content (TPC) และ ปริมาณของ Total flavonoid content (TFC) ของน้ำเชื่อมที่ได้ มีปริมาณเทียบเท่ากับ gallic acid 244.70 ± 5.77 มก./น้ำเชื่อม 1 กก. และ เทียบเท่ากับ quercetin 658.45 ± 27.86 มก./น้ำเชื่อม 1 กก. ตามลำดับ ซึ่งสาร 2,3,4-trihydroxy-5-methylacetophenone แสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดี เมื่อทำการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH พบว่าความเข้มข้นของสารที่มีฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชันที่ทำให้ความเข้มข้นของอนุมูล DPPH ลดลงร้อยละ 50 (IC50) เท่ากับ 20.02 ± 0.14 ไมโครโมลาร์ ซึ่งดีกว่าวิตามินซี (IC50 = 22.59 ± 0.30 ไมโครโมลาร์) นอกจากนี้สารดังกล่าวยังมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียหลายชนิด เช่น Escherichia coli, Mycobacterium smegmatis, Staphylococcus aureus และ S. simulans

Food Chem. 2017;228:491–6.