ผลของการรับประทานสารสกัดจากว่านหางจระเข้ต่อกระบวนการสร้างและสลายไขมันและคาร์โบไฮเดตรในภาวะที่เป็นโรคเบาหวาน

ศึกษาผลของการรับประทานสารสกัด lophenol (Lo) และ Cycloartanol (Cy) จากว่านหางจระเข้ต่อกระบวนการสร้างและสลายไขมันและคาร์โบไฮเดรตในหนูแรทที่เป็นเบาหวาน โดยทำการทดลองเลี้ยงหนูแรท 3 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ตัว ทุกกลุ่มให้อาหารที่มีไขมันสูง (high-fat diet containing 60kcal %fat) ตลอดการทดลอง ในสัปดาห์ที่ 3 ของการเลี้ยง หนูกลุ่มที่ 2 และ 3 ป้อนด้วยสารสกัด Lo และ Cy ขนาดวันละ 1 มล. (25 มค./กก.วัน) ตามลำดับ ต่อเนื่องเป็นเวลา 44 วัน ทำการวัดระดับน้ำตาลในเลือดก่อนป้อนสารสกัด และหลังป้อนสารสกัดในสัปดาห์ที่ 3 และ 5 ของการทดลอง วัดการกินได้และน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นระหว่างการทดลองของหนูแรททุกกลุ่ม และเมื่อเสร็จสิ้นการทดลอง (วันที่ 45 ) ทำการผ่าซากหนูเพื่อเก็บอวัยวะภายในช่องท้อง (epididymal, mesenteric และ retroperitoneal) เนื้อเยื่อไขมันชนิด white adipose tissue กล้ามเนื้อบริเวณน่อง (gastrocneminus) และตับ มาชั่งน้ำหนัก และวัดการแสดงออกของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างและสลายไขมันและคาร์โบไฮเดรต ด้วยวิธี RT-PCR (Real-Time Quantitative PCR) จากการทดลองพบว่าหนูแรทกลุ่มที่ได้รับสารสกัด Lo และ Cy มีค่าระดับน้ำตาลในเลือด และน้ำหนักของไขมันตำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัด และยังมีผลลดระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ทั้งในตับและในซีรั่ม นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์การแสดงออกของเอนไซม์พบว่า การแสดงออกของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างและสะสมคาร์โบไฮเดรต (gluconeogenesis) ได้แก่ glucose-6-phophatase และ phosphopyruvate carboxykinase และเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างและสะสมไขมัน (lipogenic enzyme) ได้แก่ Acetyl-CoA carboxylase Carnitine palmitoyl transferase และ sterol regulatory element binding protein ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในหนูกลุ่มที่ได้รับสารสกัด Lo และ Cy และพบว่าเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสลายพลังงาน (glycolysis enzyme) มีการแสดงออกเพิ่มมากขึ้น ผลการทดลองดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการรับประทานสารสกัด Lo และ Cy จากว่านหางจระเข้มีผลช่วยให้กระบวนการเผาผลาญไขมันและคาร์โบไฮเดตรดีขึ้นในหนูแรทที่เป็นเบาหวาน

J Agric Food Chem. 2012; 60(11): 2799-806