ผลของสารสกัดจากใบโพธิ์ต่อหนูแรทที่มีภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง

การศึกษาฤทธิ์ลดระดับไขมันในเลือดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเอทานอลและสารสกัดเฮกเซนจากใบโพธิ์ (Ficus religiosa  Linn.) ในหลอดทดลองพบว่า สารสกัดเอทานอลและสารสกัดเฮกเซนจากใบโพธิ์ มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ β-hydroxy-β-methylglutaryl coenzyme A reductase (เอนไซม์ชนิดนี้เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์คอเลสเตอรอล) และมีฤทธิ์ในการกำจัดอนุมูลอิสระ DPPH ส่วนการทดลองในหนูแรทที่ได้รับคอเลสเตอรอลขนาด 30 ก. สัปดาห์ละ 5 ครั้ง เป็นเวลา 9 สัปดาห์ เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง เปรียบเทียบผลกับยา lipanthyl ซึ่งเป็นยามาตรฐานที่ใช้ลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด โดยให้หนูกินสารสกัดเอทานอลในขนาด 500 มก./กก. น้ำหนักตัว หรือยา lipanthyl 50 มก./กก. น้ำหนักตัว จากผลการทดลองพบว่าสารสกัดเอทานอลทำให้ระดับของไขมันรวม คอเลสเตอรอล low-density lipoprotein cholesterol (LDL-C), triglycerides, phospholipid, superoxide dismutase (SOD), malondialdehyde (MDA), aspartate transaminase (AST), alanine transaminase (ALT) และ alkaline phosphatase (ALP) ที่เพิ่มขึ้นจากการได้รับอาหารซึ่งมีไขมันสูง มีระดับลดลง ส่วนไขมันชนิด high-density lipoprotein cholesterol (HDL-C) และ glutathione (GSH) มีระดับเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ค่าทางโลหิตวิทยาที่เสียไปดีขึ้นด้วย แม้ว่าประสิทธิภาพจะไม่เท่ากับยา lipanthyl ก็ตาม จึงสรุปได้ว่าสารสกัดเอทานอลจากใบโพธิ์มีประสิทธิภาพในการลดไขมันในเลือดและต้านอนุมูลอิสระ

Food Chemistry 2011;129:162 - 70