สารสกัดจากกะลามะพร้าวช่วยลดความดันโลหิต

การศึกษาฤทธิ์หลอดเลือดคลายตัวของสารสกัดเอทานอลจากกะลามะพร้าว (CNE) ต่อหลอดเลือดแดงทั้งในภาวะที่มีและไม่มี endothelium พบว่า CNE มีผลลดการหดตัวของหลอดเลือดแดงที่ถูกกระตุ้นด้วย norepinephrine, phenylephrine หรือ potassium chloride ได้ดีในภาวะที่มี endothelium และฤทธิ์คลายหลอดเลือดของ CNE จะถูกยั้บยั้งเมื่อให้ร่วมกับ NG-nitro-L-arginine (nitric oxide synthase inhibitor) และ 1H-[1,2,4]-oxadiazolo-[4,3-A]-quinoxalin-1-one (ODQ: guanylase cyclase inhibitor) ส่วน atropine (muscarinic receptor antagonist) และ indomethacin (cyclooxygenase inhibitor) มีผลยับยั้งเพียงเล็กน้อย ในขณะที่ glibenclamide (ATP-sensitive K+ channel blocker) ไม่มีต่อการทำงานของ CNE และเมื่อนำไปทดสอบฤทธิ์ลดความดันโลหิตในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความดันโลหิตสูงโดยเกลือ acetate deoxycorticosterone (DOCA) พบว่าหนูแรทที่ได้รับ CNE ขนาดวันละ 300 มก./กก.น้ำหนักตัว ติดต่อกัน 12 วัน มีความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว (systolic blood pressure) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (จาก 185.3 ± 4.7 มม.ปรอท เหลือ 145.6 ± 6.1 มม.ปรอท) โดยพบว่าสารสำคัญที่มีผลต่อการออกฤทธิ์เป็นสารกลุ่มโพลีฟีนอล ได้แก่ chrologenic acid, vanillic acid และ ferulic acid จากการทดลองที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าสารสกัดเอทานอลจากกะลามะพร้าวช่วยลดความดันโลหิต โดยเกี่ยวข้องกับการสร้าง nitric oxide จาก endothelium ผ่าน nitric oxide/guanylase cyclase pathway โดยตรง รวมถึงมีผลกระตุ้น muscarinic receptor ใน cyclooxygenase pathway

J Ethnopharmacol 2011; 134(1): 50-4