ฤทธิ์แก้แพ้ของสารสกัดเอทิลอะซีเตตจากฝรั่ง

จากการศึกษาผลของสารสกัดเอทิลอะซิเตตจากฝรั่ง ต่อการตอบสนองของอิมมูโนโกลบูลินอี(IgE) ใน mast cell (RBL-2H3 cell) ซึ่งถูกกระตุ้นด้วย 2,4-dinitrophenylated bovine serum albumin (DNP-BSA) พบว่าสารสกัดเอทิลอะซิเตตจากฝรั่งสามารถยับยั้งการหลั่ง beta-hexosaminidase และ histamine ยับยั้งการแสดงออกของ interleukin 4 (IL-4), tumor necrosive factor-alpha (TNF-α) และ cyclooxygenase-2 (COX-2) ยับยั้งการทำงานของ Nuclear factor of activated T-cells (NFAT), Nuclear factor kappa-beta (NF-κB) ยับยั้งการสลายตัวของ IκB-α และยับยั้งการสร้างอนูมูลอิสระในกลุ่ม Reactive oxygen species (ROS) ใน mast cell ซึ่งถูกกระตุ้นด้วย DNP-BSA ซึ่งกลไกอาจเกี่ยวข้องกับการยับยั้งการแตกของแกรนูลและยับยั้งการสร้างไซโคไคต์ นอกจากนี้เมื่อศึกษาผลสารสกัดเอทิลอะซิเตตจากฝรั่งต่อการทำงานของโมเลกุลที่เกี่ยวกับการส่งสัญญาณภายในเซลล์ หลังจากกระตุ้นผ่านทาง IgE receptors (FcεRI) พบว่าสารสกัดเอทิลอะซิเตตจากฝรั่ง ไม่มีผลยับยั้งการทำงานของ Lyn แต่มีผลยับยั้งการ phosphorylated ของ Syk, LAT, Gab2, PLCγ2 , MAP kinase และ Akt ซึ่งอยู่ในสัญญาณการกระตุ้น IgE receptor ใน mast cell ซึ่งถูกกระตุ้นด้วย DNP-BSA ได้ จากผลที่ได้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดเอทิลอะซิเตตจากฝรั่งมีฤทธิ์แก้แพ้ ลดการตอบสนองของ IgE และสามารถใช้รักษาโรคอักเสบภูมิแพ้ โดยออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างไซโคไคต์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ และยับยั้ง FcεRI signaling pathways

Food Chem Toxicol 2011; 49:100-8