ผลของสารคาทีชิน (catechin) จากชาเขียว ต่อการเกิดโรคคอพอก

การทดสอบผลของการป้อนสารสกัดชาเขียวที่เตรียมในความเข้มข้น 1.25, 2.5 และ 5.0 กรัมของใบชา/น้ำ 100 มล. โดยป้อนหนูแรทในขนาด 1 มล./น้ำหนักตัว 100 ก. (เทียบเท่ากับสารคาทีชินขนาด 25, 50 และ 100 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. ตามลำดับ) และการป้อนสารคาทีชินบริสุทธิ์ในขนาด 25, 50 และ 100 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. ให้หนูแรทเพศผู้อายุ 3 เดือน กินเป็นเวลา 30 วัน พบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับสารสกัดชาเขียวและสารสารคาทีชินบริสุทธิ์ ในขนาดสูง จะมีน้ำหนักตัวลดลง ต่อมไทรอยด์มีการเจริญและการขยายตัวที่ผิดปกติ การออกฤทธิ์ของ thyroid peroxidase และ 5’-deiodinase I ลดลง ซึ่งส่งผลให้การทำงานของ Na, K+ ATPase ในเนื้อเยื่อของต่อมไทรอยด์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ระดับของ tri-iodothyronine (T3) และ thyroxin (T4) ในเลือดลดลง ในขณะที่ระดับของ thyroid - stimulating hormone (TSH) ในเลือดเพิ่มขึ้น จากผลการทดลองดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสารคาทีชินอาจมีฤทธิ์ต้านการทำงานของต่อมไทรอยด์ และการบริโภคชาเขียวในขนาดสูงอาจทำให้การทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติได้

Food Cheml Toxicol 2010;48:2304–11