โพลีแซกคาไรด์จากตังกุย (Angelica sinensis) และการออกกำลังกายแบบไทชิ ช่วยลดอนุมูลอิสระในร่างกาย

โพลีแซกคาไรด์ในตังกุยประกอบไปด้วยโมโนแซกคาไรด์ 8 ชนิด ได้แก่ mannose, rhamnose, glucuronic acid, galacturonic acid, glucose, galactose, arabinose และ fucose ในอัตราส่วน 1.2:4.5:1:10.5:17.8:37.5:8.7:4.9 (โมลาร์) และเมื่อทำการทดลองให้อาสาสมัครหญิงวัยกลางคนจำนวน 90 คน อายุ ≥ 55 ปี ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มแรกเป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่สองให้รับประทานโพลีแซกคาไรด์จากตังกุย ขนาด 125 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวกิโลกรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร และกลุ่มที่สามให้ออกกำลังกายแบบไทชิ วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที นาน 3 เดือน เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น superoxide dismutase, catalase, glutathione peroxidase และ glutathione มีปริมาณเพิ่มขึ้น ในขณะที่ lipid peroxidation มีค่าลดลงในอาสาสมัครที่รับประทานโพลีแซกคาไรด์จากตังกุย และออกกำลังกายแบบไทชิมี นอกจากนี้ยังพบว่าการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น serum vascular cell adhesion molecule-1 (s-VCAM-1), interleukin-1 beta (IL-1β) , interleukin-6 (IL-6) และ tumor necrosis factor α (TNF-α) ของทั้งสองกลุ่มลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม จึงกล่าวได้ว่าการรับประทานโพลีแซกคาไรด์จากตังกุยและการออกกำลังกายแบบไทชิ ช่วยลดอนุมูลอิสระและเพิ่มภูมิต้านทานในหญิงวัยกลางคน

Carbohydrate Polymers 2009; 77: 384-8