ผลของสารสกัดเมล็ดคำฝอยต่อสารที่บ่งชี้การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ที่มีสุขภาพดี

การศึกษาในอาสาสมัครผู้ชายที่มีสุขภาพดี จำนวน 20 คน ที่มีอายุเฉลี่ย 37.3 ± 6.8 ปี ดัชนีมวลกาย (BMI) เท่ากับ 23.7 ± 3.7 กก./ม2 อาสาสมัครทุกคนรับประทานสารสกัดเมล็ดคำฝอยชนิดแคปซูลวันละ 2 ครั้งๆ ละ 5 แคปซูล โดยให้รับประทานภายหลังอาหารเช้า - เย็น 30 นาที ภายใน 1 วัน จะได้รับสารสกัดเมล็ดคำฝอยทั้งหมด 2.1 กรัม (210 มก./แคปซูล) ซึ่งเทียบเท่ากับอนุพันธ์ของสาร serotonin 290 มก./วัน นาน 4 สัปดาห์ และมีช่วงหยุดพัก 4 สัปดาห์ เช่นกัน พบว่าการได้รับสารสกัดเมล็ดคำฝอย 4 สัปดาห์ และหลังจากหยุดยาแล้ว 4 สัปดาห์ สามารถลดการเกิดสารที่เป็นตัวบ่งชี้ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด คือ oxidized LDL, anti-MDA-LDL (autoantibody titres to malondialdehyde-modified LDL และ 8-isoprostane และในช่วงที่ได้รับสารสกัดเมล็ดคำฝอยเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ในเลือดของอาสาสมัครจะพบการลดลงของสารที่เป็นตัวบ่งชี้การเกิดการอักเสบ sVCAM-1 (serum soluble form of vascular cell adhesion molecule-1) แต่สารสกัดเมล็ดคำฝอยไม่มีผลต่อระดับความดันโลหิต และอัตราการเต้นของชีพจรที่ข้อมือและข้อเท้า จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าการรับประทานสารสกัดเมล็ดคำฝอยสามารถลดระดับสารที่เป็นตัวบ่งชี้ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

British Journal of Nutrition 2009;101:568-75