ผลของสารสกัดจากเหง้าขิงในการรักษาลำไส้ใหญ่อักเสบ

เมื่อป้อนหนูขาวด้วยสารสกัด 95% เอทานอลจากเหง้าขิง ขนาด 100, 200 และ 400 มก./กก. และยา sulfasalazine ขนาด 500 มก./กก. ก่อนเป็นเวลา 3 วัน จากนั้นเหนี่ยวนำให้หนูเกิดการอักเสบและเป็นแผลที่ลำไส้ใหญ่ด้วยกรดอะซีติก 3% แล้วทำการศึกษาต่อไปอีก 7 วัน พบว่าสารสกัดจากเหง้าขิงที่ขนาด 200 และ 400 มก./กก. และยา sulfasalazine มีผลลดอาการบวมและอักเสบของลำไส้ โดยดูจากจำนวนแผลและขนาดของลำไส้ใหญ่ที่ลดลง ซึ่งสารสกัดจากเหง้าขิงที่ขนาด 400 มก./กก. จะให้ผลดีที่สุด สารสกัดจากเหง้าขิงทั้ง 3 ขนาด และยา sulfasalazine มีผลทำให้เอนไซม์ myeloperoxidase, tumor necrosis factor-α (TNF- α) และ prostaglandine E2 (PEG2) ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบลดลง นอกจากนี้ยังมีผลต่อกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ โดยทำให้ระดับเอนไซม์ catalase, superoxide dismutase และ glutathione เพิ่มขึ้น และลดระดับของ malondehyde และ protein carbonyl ในลำไส้ใหญ่ แสดงว่าผลในการรักษาลำไส้ใหญ่อักเสบของสารสกัดจากเหง้าขิงเนื่องมาจากฤทธิ์ในการลดการอักเสบและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

J Ethnopharmacol 2008;118:367-32