บอระเพ็ดและมะขามป้อมป้องกันการทำลายตับเนื่องจากยา

เมื่อแบ่งหนูขาวออกเป็น 7 กลุ่ม (A-G) ป้อนยารักษาวัณโรค (ATT) ประกอบด้วย isoniazid 31.5 มก./กก., rifampicin 54 มก./กก. และ pyrazinamide 189 มก./กก. ทุกวัน นาน 90 วัน ทุกกลุ่มยกเว้นกลุ่ม A (กลุ่ม A จะได้รับ 0.5% carboxymethylcellulose) 1 ชม.หลังได้รับสารของทุกวัน กลุ่ม A และ B จะได้รับน้ำกลั่น กลุ่ม C จะได้รับสารสกัดด้วยน้ำจากลำต้นบอระเพ็ด (Tc) 100 มก./กก. กลุ่ม D จะได้รับสารสกัดด้วยน้ำจากผลมะขามป้อม (Pe) 300 มก./กก. กลุ่ม E จะได้รับ Tc 100 มก./กก. และ Pe 300 มก./กก. กลุ่ม F จะได้รับ Tc 50 มก./กก. และ Pe 150 มก./กก. กลุ่ม G จะได้รับ silymarin 50 มก./กก. สารสกัดจากสมุนไพรและ silymarin ที่ใช้ทดสอบจะถูกป้อนให้วันละ 2 ครั้ง จากการทดลองพบว่า ATT จะทำลายตับ ทำให้น้ำหนักและปริมาตรของตับเพิ่มขึ้น เนื้อเยื่อของตับถูกทำลาย ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับทั้งบอระเพ็ดและมะขามป้อมร่วมกันจะช่วยป้องกันการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักและปริมาตรของตับ และให้ผลไม่แตกต่างจากหนูที่ได้ silymarin แต่บอระเพ็ดและมะขามป้อมในขนาดครึ่งหนึ่ง (กลุ่ม F) ไม่สามารถป้องกันการเพิ่มของน้ำหนักและปริมาตรของตับได้ นอกจากนั้นการให้บอระพ็ดร่วมกับมะขามป้อมยังป้องกันการตายของเซลล์ตับ ไม่เกิด fibrosis ในตับ ซึ่งในกลุ่ม F ให้ผลคล้ายกัน และไม่แตกต่างจากหนูที่ได้ silymarin ส่วนหนูที่ได้รับบอระเพ็ดเพียงอย่างเดียว ถึงแม้จะช่วยป้องกันการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักและปริมาตรของตับ และมีการทำลายเนื้อเยื่อของตับน้อยกว่ากลุ่ม ATT แต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม ATT หนูที่ได้รับมะขามป้อมอย่างเดียว จะช่วยป้องกันการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตับ และลดการตายของเนื้อเยื่อตับ แต่ไม่ป้องกันการเพิ่มขึ้นของปริมาตรตับ

Phytother Res 2008;22:646-50