ฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเอสโตรเจนและลดการอักเสบของพริกหาง

การทดสอบฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเอสโตรเจนของสารสกัด 96% เอทานอลจากเมล็ดของพริกหาง พบว่าความเข้มข้น 10 และ 30 มคก./มล. จะมีฤทธิ์ยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง 3 ชนิดที่ขึ้นอยู่กับฮอร์โมน คือ LNCaP (ต่อมลูกหมาก) และ MCF-7 (เต้านม) และเซลล์มะเร็ง PrEC (ต่อมลูกหมาก) ได้ แต่ไม่มีผลต่อเซลล์มะเร็ง MDA (เต้านม) สารสกัดเดียวกันนี้ที่ความเข้มข้น 10 มคก./มล. มีผลลดการสร้าง DNA ในเซลล์ LNCaP และในเซลล์ MCF-7 ที่ถูกกระตุ้นด้วย β-estradiol แต่ไม่มีผลต่อเซลล์ MDA สารสกัดนี้ยังมีผลยับยั้งเอนไซม์ aromatase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เปลี่ยน androstenedione เป็น estrone และเปลี่ยน testosterone เป็น estradiol โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 6.7 มคก./มล. นอกจากนี้พบว่ามีฤทธิ์ต้านการจับของ estradiol กับ estrogen α และ β receptor และการจับของ prazosin กับ adrenergic receptor ชนิด α1A โดยมีค่า IC50 น้อยกว่า และเท่ากับ 100 มคก./มล. ตามลำดับ

สารสกัด 96% เอทานอลจากเมล็ดของพริกหาง มีฤทธิ์ลดการอักเสบโดยยับยั้งเอนไซม์ cyclo-oxygenase-1, cyclo-oxygenase-2 และ 5-lipoxygenase มีค่า IC50 เท่ากับ 25, 19 และ 2.8 มคก./มล. ตามลำดับ และมีผลยับยั้ง interleukin 6 (IL-6) ในเซลล์ THP-1 ที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการอักเสบด้วย lipopolysaccharide โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 6.9 มคก./มล.

Planta Med 2008;74:142-6.