ฤทธิ์ของชมพู่แก้มแหม่มต่อการฟื้นฟูความผิดปกติของการทำงานของเซลล์บุผนังหลอดเลือดและการถูกทำลายของตับในหนูแรท

การทดสอบฤทธิ์ของผลชมพู่แก้มแหม่ม (Syzygium samarangense) ต่อการฟื้นฟูความผิดปกติของการทำงานของเซลล์บุผนังหลอดเลือดและการถูกทำลายของตับในหนูแรท โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุมปกติ กลุ่มที่ให้อาหารคอเลสเตอรอลสูง 15% เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มที่ให้อาหารคอเลสเตอรอลสูงร่วมกับการให้ผงชมพู่แก้มแหม่มขนาด 50 และ 100 มก./กก./วัน ทางปาก เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ (ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 5 ถึง 8 ของการทดสอบ) ตามลำดับ หลังจากสัปดาห์ที่ 8 ทำการตรวจเลือด ตรวจทางจุลกายวิภาคศาสตร์ของหลอดเลือดแดงเอออร์ตาส่วนอกและตับ ประเมินเกี่ยวกับการทำงานของเซลล์บุผนังหลอดเลือด และการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับสภาวะเครียดออกซิเดชันในหลอดเลือดแดงใหญ่ ผลการทดสอบพบว่ากลุ่มที่ได้รับชมพู่แก้มแหม่มมีระดับ triglyceride, total cholesterol, low-density lipoprotein cholesterol, aspartate aminotransferase และ alanine aminotransferase ในขณะที่ระดับ high-density lipoprotein cholesterol เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า triglyceride และ total cholesterol ในตับลดลง กลุ่มที่ได้รับชมพู่แก้มแหม่มมีผลในการปรับปรุงเนื้อเยื่อของหลอดเลือดแดงเอออร์ตาส่วนอกและตับที่เปลี่ยนแปลงจากการเหนี่ยวนำด้วยอาหารคอเลสเตอรอลสูง และจากประเมินการทำงานของเซลล์บุผนังหลอดเลือดด้วยการทดสอบการตอบสนองของเนื้อเยื่อ aortic ต่อ acetylcholine และทำให้ nitric oxide ลดลง endothelin (ET)-1 เพิ่มขึ้น การแสดงออกของ NADPH oxidase subunit p47phox และ 4-hydroxynonenal เพิ่มขึ้น พบว่ากลุ่มที่ได้รับชมพู่แก้มแหม่มมีผลต่อการปรับปรุงค่าต่าง ๆ ดังกล่าว จากผลการทดสอบครั้งนี้สรุปได้ว่าชมพู่แก้มแหม่มมีผลปรับปรุงการทำงานของหลอดเลือดที่ถูกเหนี่ยวนำให้เสียหายจากการได้รับอาหารคอเลสเตอรอลสูง อาจเกิดผ่านกลไกการเพิ่มขึ้นของ nitric oxide การลดลงของ ET-1 และการลดลงของสภาวะเครียดออกซิเดชัน นอกจากนี้ยังมีผลลดไขมันในตับของหนูแรท

J Tradit Complement Med. 2022;12(6):584-593. doi: 10.1016/j.jtcme.2022.08.002.