ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของแป้งต้านทานการย่อยจากเมล็ดบัว

การทดสอบฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของแป้งต้านทานการย่อยจากเมล็ดบัว (lotus seed resistant starch; LSRS) ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยการกินอาหารไขมันสูง (high-fat diet) และการฉีด streptozotocin โดยให้หนูกินอาหารที่มี LSRS ผสมอยู่ 5%, 10%, และ 15% เป็นเวลานาน 4 สัปดาห์ เปรียบเทียบผลที่ได้กับหนูปกติและหนูที่เป็นเบาหวานแต่ไม่ได้รับ LSRS พบว่า หนูที่ได้รับ LSRS มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างชัดเจน (16.0% - 33.6%), ระดับอินซูลินเพิ่มขึ้น 25.0% – 39.0%, และความผิดปกติของการเผาผลาญไขมันในร่างกายจากภาวะเบาหวานได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้น โดยประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดที่ได้รับ และการตรวจสอบข้อมูลทางพันธุกรรม (genome-wide expression patterns) ในเนื้อเยื่อตับอ่อนของหนู พบการแสดงออกของยีนที่แตกต่างกัน (differentially expressed genes; DEGs) 115 DEGs จากการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวพบว่า LSRS มีผลป้องกันการเกิดภาวะเบาหวาน ด้วยกลไกในการควบคุมการแสดงออกของยีนที่เกียวข้องกับการหลั่งอินซูลิน, การสื่อสัญาณของอินซูลิน (insulin signal transmission), การตายของเซลล์ (cell apoptosis), ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, และ p53 signaling pathways

หมายเหตุ: Resistant starch คือ แป้งที่ทนต่อการย่อยสลายด้วยเอนไซม์ในระบบทางเดินอาหาร จึงไม่สามารถดูดซึมภายในลำไส้เล็กของมนุษย์ได้ แต่ถูกหมักโดยจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ ซึ่ง resistant starch มีคุณสมบัติในการเป็นพรีไบโอติก (prebiotic) ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

Food Chem. 2018;264:427–34.