ผลของสารสกัดจากอบเชยญวนต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้

ศึกษาผลของการรับประทานสารสกัด 2,4-bis(1,1-dimethylethyl)phenol (BP) จากอบเชยญวน (Cinnamomum loureirii) ต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของหนูเม้าส์ โดยป้อนสารสกัด BP ขนาดวันละ 10, 20 และ 40 มก./กก. นานติดต่อกัน 3 สัปดาห์ ก่อนเหนี่ยวนำให้สูญเสียประสิทธิภาพการเรียนรู้ด้วยการฉีด trimethyltin (TMT) เข้าทางช่องท้องขนาด 2.5 มก./กก. หลังจากนั้น 2 วัน นำหนูไปทดสอบพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธี Y-Maze test และ Passive Avoidance test ผลจากการทดลองพบว่า หนูเม้าส์กลุ่มที่ได้รับสารสกัด BP ขนาดวันละ 20 และ 40 มก./กก. มีพฤติกรรมการเรียนรู้ดีกว่ากลุ่มที่ฉีด TMT เพียงอย่างเดียว (กลุ่มควบคุม) อย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อตรวจวิเคราะห์สารเคมีในสมองหนูเม้าส์พบว่า สารสกัด BP มีผลลดการทำงานของเอนไซม์ acetylcholinesterase (AChE) แลดการเกิดออกซิเดชันของไขมัน (lipid peroxidation) นอกจากนี้ยังมีผลเพิ่มระดับสารสื่อประสาท acetylcholine อีกด้วย ผลจากการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า สาร BP จากอบเชยญวนมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการสูญเสียประสิทธิภาพการเรียนรู้โดยผ่านระบบประสาท cholinergic ซึ่งอาจมีประโยชน์ในการพัฒนาต่อยอดเพื่อเป็นยารักษาโรคสมองเสื่อมในอนาคตได้

Bio Pharm Bull. 2017; 40(6): 932-5.