ฤทธิ์ปกป้องตับของข้าวเฉดสีแดงของไทย

ในการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของข้าวเฉดสีของไทยจากสายพันธุ์สีแดง ได้แก่ ข้าวหอมแดง ข้าวหอมกุหลาบแดง และสายพันธุ์สีดำ ได้แก่ ข้าวหอมดำสุโขทัย และข้าวก่ำดอยสะเก็ด โดยทดสอบด้วยวิธ๊ ABTS radical scavenging, Hydroxyl radical scavenging, Metal-chelating และ lipid peroxidation assays พบว่าสารสกัดไฮโดรไกลโคลิก (hydroglycolic extract) จากรำข้าวหอมแดง ซึ่งมีปริมาณของสารฟีนอลิก และฟลาโวนอยด์สูงสุด มีฤทธิ์ดีที่สุดในการต้านอนุมูลอิสระ (IC50 เท่ากับ 36.50±0.46, 12.98±0.23, 21.83±2.58, 15.87±0.30 และ 86.21±2.45 มก./มล. สำหรับวิธี ABTS, Hydroxyl radical , Metal-chelating และ lipid peroxidation ตามลำดับ) เมื่อนำสารสกัดข้าวหอมแดงมาทดสอบฤทธิ์ปกป้องตับในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดพิษต่อตับด้วยยาพาราเซตามอล (60 มก./กก.) โดยป้อนสารสกัดขนาด 128, 256 และ 512 มก./กก. เป็นเวลา 7 และ 30 วัน เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม และกลุ่มที่ได้รับยา N-acetyl-cysteine (NAC) ขนาด 150 มก./กก. พบว่าสารสกัดมีผลลดระดับของเอนไซม์ glutamic pyruvic transaminase (GPT) และ glutamic oxaloacetic transaminase (GOT) ที่สูงขึ้นเนื่องจากยาพาราเซตามอลได้จนถึงค่าปกติ นอกจากนี้ยังเพิ่มระดับของ glutathione (GSH) และลดระดับของ glutathione disulfide (GSSG) ซึ่งส่งผลให้ค่า GSH/GSSG เพิ่มขึ้น สรุปได้ว่า สารสกัดข้าวเฉดสีของไทย โดยเฉพาะพันธุ์หอมแดง มีแนวโน้มที่จะนำมาใช้ประโยชน์สำหรับเป็นอาหารเสริมสุขภาพในการลดพิษที่เกิดจากการใช้ยาพาราเซมอลเป็นระยะเวลานานได้ ซึ่งเป็นผลจากคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและปกป้องตับของสารสกัด

PHARM BIOL 2016;54(5):770-9.