การสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในเด็ก

การศึกษาทางคลินิกในเด็กที่เกิดระหว่างปี ค.ศ.1999 – 2005 ซึ่งมีภาวะของโรคเบาหวานชนิดที่ 1* จำนวน 344 ราย พบว่า การสูบบุหรี่ในช่วงก่อนตั้งครรภ์ของแม่ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในเด็ก โดยมีค่า odds ratio (OR) ที่ 2.83; 95 % confidence interval (CI) ที่1.67 - 4.80 เมื่อสูบในขนาด 1 – 9 มวน/วัน และมีค่า OR ที่ 3.91; 95 % CI ที่ 1.22 - 12.51 เมื่อสูบในขนาด >9 มวน/วัน ซึ่งผลดังกล่าวได้รับการพิจารณาร่วมกับลักษณะของ HLA** haplotype จากผลการศึกษาทำให้สามารถสรุปได้ว่า เด็กที่ได้รับบุหรี่จากการที่แม่สูบบุหรี่ในช่วงตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1

หมายเหตุ

*เบาหวานชนิดที่ 1 คือ ภาวะที่เบต้าเซลล์ของตับอ่อนถูกทำลายด้วยระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ไม่สามารถสร้างอินซูลินซึ่งมีหน้าที่พาน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ได้เพียงพอ น้ำตาลจึงอยู่ในกระแสเลือดเป็นจำนวนมาก ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงต้องได้รับอินซูลินด้วยการฉีดหรือใช้เครื่องปั๊มอินซูลิน

**Human leukocyte antigen (HLA) เป็นแอนติเจนที่พบได้บนผิวเซลล์ของเม็ดเลือดขาวและเนื้อเยื่ออื่นๆ ของร่างกาย มีความเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสิ่งแปลกปลอม

Eur J Epidemiol 2015;30:231-8.