ว่านหางจระเข้

ชื่อวิทยาศาสตร์            Aloe vera L.

วงศ์                              Aloaceae

ชื่อพ้อง                         A. barbadensis Mill., A. indica Royle

ชื่ออื่น ๆ                       ว่านไฟไหม้  หางตะเข้  Aloe, Aloin, Barbados aloe, Crocodile’s tongue, Indian aloe, Jafferabad,

Mediteranian aloe, Star cactus, True aloe

สารออกฤทธิ์                Aloctin A (1, 2), Aloetin B (3), Aloenin (4), aloesin (5), glycoprotein (6-8), magnesium lactate

(4, 9), mannose-6-phosphate (10), polysaccharide (11)

 

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับแก้โรคแผลในกระเพาะอาหาร

1.  ฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหาร

          ได้มีการศึกษาฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหารในหนูขาว (12-18)  Parmar และคณะ (17) ได้ศึกษาผลของเจลและยางโดยเหนี่ยวนำหนูให้เป็นแผลในกระเพาะอาหารด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่ การใช้ acetylsalicylic acid, phenylbutazone, reserpine ความเย็น และใช้ cysteamine hydrochloride ทำให้เกิดแผลในลำไส้ พบว่าไม่ได้ผลในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร  Koo 1994 (14)  รายงานว่าวุ้นว่านหางจระเข้ไม่สามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เนื่องจากอัลกอฮอล์และความเย็นแต่ช่วยให้หายเร็วขึ้น ซึ่ง Kandil and Gobran (13) ก็พบผลเช่นกันเดียวกัน เมื่อให้วุ้นว่านหางจระเข้หลังเกิดแผล 7 วัน  การทดลองต่อมาพบว่าเมื่อให้หนูซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารกินวุ้นว่านหางจระเข้วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 5 มก./.. ตัว 100 กรัม  พบว่ากลุ่มที่ได้รับว่านหางจระเข้จะไม่มีแผล ส่วนในกลุ่มที่ได้ cortisol และ cortisol ร่วมกับว่านหางจระเข้ มีแผล และพบว่าเยื่อเมือกมีความหนาเพิ่มขึ้นในส่วนต้นของต่อมในกระเพาะอาหาร แสดงว่าวุ้นว่านหางจระเข้จะช่วยลดการเกิดแผล โดยกระตุ้นการสร้างเมือก (18) การทดลองของสิริพันธุ์ (15) พบว่าในหนูที่เหนี่ยวนำให้เกิดแผลโดย cortisol และให้วุ้นว่านหางจระเข้ สารสกัดว่านหางจระเข้ทั้งใบ เปรียบเทียบกับไซเมติดีน พบว่าวุ้นว่านหางจระเข้ช่วยลดการเกิดแผลได้อย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่สารสกัดทั้งใบและไซเมติดีน มีผลเล็กน้อย  ศิริมา (16) ได้ทดลองในหนูขาวที่ทำให้เกิดแผลด้วย 0.6 N HCl และ acetic acid เมื่อให้วุ้นสด วุ้นสดที่ทำให้แห้งโดยวิธีแช่แข็ง และวุ้นที่เก็บไว้ในตู้เย็นก่อนนำมาทำแห้ง พบว่าในขนาด 400 มก./กก./วัน  สามารถป้องกันการเกิดแผลได้ทั้ง 3 ตัวอย่าง และให้ผลใกล้เคียงกับซูครัลเฟต แสดงว่าป้องกันการเกิดแผลและทำให้แผลหายเร็ว จากการศึกษาต่อมาพบว่า สารออกฤทธิ์คือ Aloctin A (1), Aloctin B (3) และ polysaccharide (11)

          นอกจากการศึกษาในวุ้นแล้วยังมีการศึกษาในสารสกัด (4,19-22)  พบว่าได้ผลในการป้องกันการเกิดแผล และรักษาแผล และพบว่าสารออกฤทธิ์เป็นสารที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง > 5,000 และ > 50,000 ซึ่งสามารถยับยั้งการเกิดแผลเนื่องจากความเครียด กรดน้ำส้ม และการทำ ligation of pylorus โดยสารที่มีน้ำหนักโมเลกุล > 5,000 ให้ผลดีกว่า (20) ต่อมามีการศึกษาพบว่าการรักษาแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดว่านหางจระเข้ไม่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ prostaglandin (21)

          การศึกษายังพบว่าสารสกัดว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร (23) แต่มีผู้พบว่าสารสกัดว่านหางจระเข้มีผลรักษาแผลในกระเพาะอาหาร และพบว่า magnesium lactate และ aloenin ลดการหลั่งน้ำย่อย (4) การศึกษาต่อมาพบว่า Aloctin A นอกจากรักษาแผลในกระเพาะอาหารแล้วยังลดกรดและเปบซิน จึงลดการเกิดแผลเนื่องจากแอสไพริน และอินโดเมธาซิน (2) ซึ่งต่อมามีการศึกษาเพิ่มเติมและพบว่าให้ผลช่วยลดการหลั่งกรดและน้ำย่อย (22, 24) และสารออกฤทธิ์คือ Aloctin A (2)

          สำหรับการทดลองในคนนั้นได้มีการทดลองในยูเครน โดยนำน้ำวุ้นว่านหางจระเข้มาเตรียมเป็น emulsion ให้รับประทานครั้งละ 2-2.5 fluid drams มาทดลองในผู้ป่วย 12 ราย พบว่าหายทุกราย และนักวิจัยจากยูเครนเชื่อว่าสารออกฤทธิ์ที่สำคัญคือ traumatic acid ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะพบในพืชที่มีการทำลายเนื้อเยื่อ โดยจะปนอยู่กับพวกมิวซิเลจต่างๆ และกระบวนการออกฤทธิ์จะมาจาก

1.  ไปจับตัวกับ pepsin ทำให้ย่อยโปรตีนไม่ได้ แต่จะปล่อยออกมาเมื่อได้รับอาหาร ดังนั้นจึงลดการเกิดแผลในขณะท้องว่าง

2.    ยับยั้งการหลั่งกรด

3.    เจลมี manuronic และ glucuronic acid เป็นส่วนประกอบจึงช่วยป้องกันการเกิดแผล (25)

2.  ฤทธิ์ในการสมานแผล

          การใช้ว่านหางจระเข้สมานแผลมีมาแต่โบราณ มีการศึกษาในสัตว์ทดลองต่างๆ เมื่อทาขี้ผึ้งซึ่งมีสารสกัดว่านหางจระเข้เป็นส่วนประกอบ บนหลังหนูถีบจักรที่ทำให้เกิดแผล (26) Davis และคณะ (27) ได้ทำการศึกษาผลของว่านหางจระเข้หลายการทดลอง พบว่าเมื่อนำสารสกัดซึ่งเอา anthraquinone ออกแล้วไปฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนูถีบจักร และหนูขาว ในขนาด 10 มก./กก. พบว่าแผลหายเร็วกว่ากลุ่มควบคุม การศึกษาพบว่าฤทธิ์การสมานแผลของวุ้นว่านหางจระเข้ใช้ได้ผล ทั้งการให้สัตว์ซึ่งทำให้เกิดแผลกินในขนาด 100 มก./กก./วัน หรือผสมกับ Eucerin cream 25% ทา (28) ตะกอนที่ได้จากการตกตะกอนสารสกัดเอทานอล (50%) ทำให้แผลมีขนาดเล็กลง 47.1% แต่ส่วนใสไม่มีผล (29) mannose-6-phosphate ซึ่งได้จากว่านหางจระเข้ในขนาด 300 มก./กก. ทำให้แผลหายเร็วขึ้น (10) เมื่อให้ว่านหางจระเข้ 100 และ 300 มก./กก. แก่หนูถีบจักร จะช่วยยับยั้ง hydrocortisone acetate ที่ทำให้แผลหายช้า แผลจึงหายเร็วขึ้น (30) และเขาได้จดสิทธิบัตรการใช้ว่านหางจระเข้ในการรักษาแผลเปิด (31) Udupa และคณะ (32) พบผลเช่นเดียวกัน เมื่อฉีดวุ้นว่านหางจระเข้เข้าช่องท้องหนูถีบจักร ในขนาด 2 ซีซี/กก. อย่างไรก็ตามมีผู้รายงานว่าไม่ได้ผล (33)

          มีผู้จดสิทธิบัตรของขี้ผึ้งที่มีโพลีแซคคาไรด์เป็นส่วนประกอบในเรื่องการรักษาแผลในหนูขาว (34) การทดลองในหนูขาว โดยทำให้เกิดแผลที่หลังแล้วทาด้วย 2% mupirocin ointment, 1% clindamycin cream, 1% silver sulfadiazine cream, วุ้นว่านหางจระเข้ และ 1 % silver sulfadiazine ร่วมกับวุ้นว่านหางจระเข้ พบว่ากลุ่มที่ได้รับว่านหางจระเข้แผลหายเร็วที่สุด และยังช่วยเร่งให้แผลหายเร็วขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับ silver sulfadiazine ซึ่งทำให้แผลหายช้า (35) Muller และคณะ (36) พบผลเช่นเดียวกัน และกระบวนการที่ทำให้แผลหายเร็วขึ้นเกิดจากกระบวนการ contraction (37) และยังมีผู้ศึกษาพบว่าการที่ว่านหางจระเข้ทำให้แผลในหนูขาวหายเร็วขึ้นเนื่องมาจากไปเสริมฤทธิ์ NO หรือจับอนุมูลอิสระจึงทำให้เนื้อบริเวณนั้นไม่ตาย โดยไปยับยั้ง Thromboxane synthetase แผลจึงหายเร็วขึ้น (38) และยังพบว่าวุ้นว่านหางจระเข้เมื่อใช้ภายนอกหรือให้หนูขาวกิน จะเร่งให้แผลหายเร็วขึ้น โดยการไปเร่งการสร้าง collagen (39, 40) และผู้วิจัยกลุ่มเดียวกันยังได้ทดลองให้หนูขาวซึ่งเป็นเบาหวานกิน พบว่าแผลหายเร็วขึ้น (41) ซึ่งตรงกับที่ Davis และคณะ (42) ได้รายงานว่าเมื่อใช้ว่านหางจระเข้ซึ่งกำจัด anthraquinone ออกทำให้แผลหายเร็วขึ้น ทั้งในหนูปกติและหนูเบาหวาน และยังพบว่าวุ้นว่านหางจระเข้ยังช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น และทำให้หลอดเลือดบริเวณแผลที่ขยายกลับเป็นปกติ (43)  

          นอกจากการศึกษาในหนูถีบจักรและหนูขาวแล้ว ยังมีการศึกษาในสัตว์ชนิดอื่น ได้แก่ แมว ม้า (44)  สุนัข (44, 45)  มีผู้ผสมว่านหางจระเข้กับ Na2S2,O3, CMC, PVP 400, EDTA40 และ buffer และนำไปใช้รักษาแผลในปลา พบว่าได้ผลดี (46)  การศึกษาในหมู พบว่าแผลจะตกสะเก็ดเร็วขึ้น เมื่อใช้วุ้นว่านหางจระเข้ (47)  การศึกษาโดยทำให้หูกระต่ายเป็นแผลด้วยความเย็น พบว่าการใช้ว่านหางจระเข้ร่วมกับ pentoxifylline ทำให้เนื้อเยื่อไม่ตายดีกว่า เมื่อใช้ pentoxifylline หรือว่านหางจระเข้อย่างเดียว (48)

          ไม่เพียงแต่มีผลการทดลองในสัตว์ทดลอง ยังมีรายงานผลทางคลินิก การนำขี้ผึ้งซึ่งมีว่านหางจระเข้ 50% ไปใช้รักษาแผลถลอก พบว่าอัตราการหายดี (49) มีผู้ทดลองเปรียบเทียบผลของวุ้นว่านหางจระเข้และ polyethyline oxide พบว่าได้ผลดีกว่าในการรักษาแผลถลอก (50) แต่รักษาแผลที่ไม่ติดเชื้อได้ผล (51) มีผู้นำไปใช้ในแผลเรื้อรัง สิว และพบว่าลดการหลุดร่วงของผมด้วย (52) มีการนำมาใช้รักษาแผลภายนอกได้ผลโดยใช้ร่วมกับ Vitamin E (53) ซึ่งมีรายงานผลดีของว่านหางจระเข้ต่อมาอีกหลายฉบับ (54-56) การที่แผลหายเร็วขึ้นก็เนื่องจากการที่ผิวหนังเร่งแบ่งตัวเพื่อซ่อมแซมผิว (57, 58)  Thompson (59) ได้นำไปใช้ในผู้ป่วยผ่าตัดจมูก พบว่าทำให้แผลหายเร็วขึ้น และมีการนำไปใช้รักษาแผลที่เกิดจากการรักษาสิวด้วยวิธีดูดหัวสิว (60) สารสกัดด้วยน้ำเมื่อนำไปใช้หลังการผ่าตัดฟัน พบว่าช่วยให้แผลสมานเร็วขึ้น (61) การทดลองในผู้ป่วย 31 คนซึ่งเป็นแผลในปาก พบว่าผู้ป่วย 77% ปวดน้อยลง ผู้ป่วย 80% แผลดีขึ้น (62) และการนำว่านหางจระเข้ไปรักษาแผลที่เกิดจาการถอนฟัน พบว่าทำให้เกิด alveolar asteitis ซึ่งทำให้แผลหายช้าน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับน้ำเกลือ (63)

          อย่างไรก็ตามการนำว่านหางจระเข้มาใช้รักษาแผล มีผู้รายงานว่าไม่ได้ผล การทดลองในหญิง 21 คน ซึ่งมีแผล พบว่าแผลหายช้ากว่า standard treatment (64) การนำว่านหางจระเข้ผสม silicon dioxide และ allantoin ไปรักษาแผลในปากพบว่าไม่ได้ผล (65) การนำ acemannan ไปใช้รักษาแผลกดทับในผู้ป่วย 30 ราย พบว่าได้ผลพอๆ กับน้ำเกลือ (66)

          การศึกษาผลของว่านหางจระเข้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพบว่าเร่งการแบ่งตัว (67) Lectin จากว่านหางจระเข้ทำให้เซลล์ประสานกันได้ดี (68) ได้มีการนำเอาวุ้นสด และผลิตภัณฑ์วุ้นที่ทำขายมาทดสอบในการเพาะเลี้ยงเซลล์ผิวหนัง และ fibroblast ของผิวหนัง พบว่าวุ้นสดให้ผลดีกว่าผลิตภัณฑ์ที่ขายในท้องตลาด โดยเร่งการเจริญของเซลล์ทั้ง 2 ชนิด (69) Glycoprotein จากว่านหางจระเข้เร่งการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนัง และไต (6) และ glycoprotein ยังเร่งการแบ่งตัวของเซลล์ตับ โดยเร่งการนำเอา [3 H] thymidine ไปใช้สังเคราะห์ DNA (7, 8) และมีรายงานผลของ aloesin เช่นเดียวกัน (5) การเร่งการแบ่งตัวของเซลล์ จึงทำให้แผลหายเร็วขึ้น

          การศึกษากระบวนการออกฤทธิ์ในการรักษาแผลของว่านหางจระเข้ พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆ ได้แก่ กระบวนการลดการอักเสบเนื่องจาก Bradykininase ซึ่งไปทำลาย Bradykinin สารซึ่งทำให้หลอดเลือดขยายตัวและเกิดการอักเสบ ปวด และ Bradykininase ยังไปเปลี่ยน angiotensin I ไปเป็น angiotensin II ซึ่งทำให้หลอดเลือดหดตัว จึงทำให้การอักเสบลดลง กระบวนการที่ 2 คือ magnesium lactate ที่มีในว่านหางจระเข้ จะยับยั้ง histidine dicarboxylase ไม่ให้เปลี่ยน histidine ไปเป็น histamine ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบ กระบวนการที่ 3 คือ การที่ alloctin A ไปเพิ่มการทำงานของ adenylate cyclase ใน T-lymphocyte ทำให้ ATP เปลี่ยนเป็น cyclic AMP ซึ่งเร่งการแบ่งตัวของเซลล์ที่ได้รับอันตราย ซึ่งก็มีผู้พบว่า alloctin A ช่วยในการแบ่งตัวของเซลล์ ดังนั้นจึงช่วยสมานแผล Alloctin A ยังช่วยลดการอักเสบอีกด้วย นอกจากนี้ยังอาจเป็นไปได้ว่า วุ้นว่านหางจระเข้ช่วยสมานแผลโดยการสร้างโปรตีนจากกรดอะมิโนที่ได้จาก bradykinin ที่ถูกย่อย และ aloctin A อาจจะช่วยเพิ่มการกำจัดเนื้อเยื้อที่ตาย โดยกระบวนการกระตุ้นการแบ่งตัวของ leukocytes, macrophages และ monocytes ซึ่งจะช่วยกำจัดเซลล์ที่ตาย และในขณะเดียวกันก็เร่งการแบ่งตัวของเซลล์ที่ยังมีชีวิตบริเวณแผลเพื่อมาซ่อมแซมส่วนที่เสียไป (9)

          การศึกษาพบว่าว่านหางจระเข้ยับยั้งการทำลายเนื้อเยื่อเนื่องจากการบาดเจ็บต่างๆ โดยยับยั้ง Thromboxane A2  และรักษาระบบเลือดที่มาหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณแผลและหลอดเลือด จึงทำให้แผลหายเร็วขึ้น (70) ว่านหางจระเข้กระตุ้นการสร้าง glycoaminoglycan ซึ่งเป็นสิ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นมาปิดแผลในขั้นตอนแรกของการสมานแผล หลังจากนั้นจึงจะสร้างเนื้อเยื่อ granulation, collagen และ elastin ว่านหางจระเข้ยังไปกระตุ้นการสร้าง hyaluronic acid และ dermatan sulfate และพบว่าปริมาณ glucohydrolase เพิ่มขึ้น แสดงว่าอัตราการผลัดเนื้อเยื่อ matrix เพิ่มขึ้น จึงช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น (71) การศึกษาผลต่อ collagenase และ metalloproteinase พบว่าส่วนวุ้นยับยั้งการทำงานของ metalloproteinase ซึ่งไปทำลายเนื้อเยื่อ จึงลดการทำลายเนื้อเยื่อ แต่ aloin นอกจากยับยั้ง metalloproteinase แล้วยังยับยั้ง collagenase ซึ่งขับออกมาจากเชื้อ Clostridium histolyticum ซึ่งเชื้อนี้จะพบในแผลติดเชื้อ ดังนั้นในกรณีแผลติดเชื้อวุ้นว่านหางจระเข้ไม่มีผลยับยั้งการทำลายของ enzyme จากเชื้อ (72)

          นอกจาก aloctin A ยังมีสารพวก polysaccharide ได้แก่ acemannan ซึ่งเมื่อฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น (73) และมีผู้จดสิทธิบัตรผลของ polysaccharide ในการสมานแผล (74) Pickart (75) ได้ทดลองเตรียมอนุพันธุ์กับโลหะได้สารซึ่งมีฤทธิ์สมานแผล และยังช่วยกระตุ้นการงอกของขนในหนูถีบจักร

          ด้วยฤทธิ์สมานแผล จึงมีผู้นำไปใช้รักษาแผลอักเสบต่างๆ ได้แก่ แผลที่เกิดจากการแพ้ sodium lauryl sulfate ในผงซักฟอก พบว่าได้ผลดี (76)  ใช้ผสมในน้ำยาทำความสะอาดผิวหนังโดยใช้สารสกัดว่านหางจระเข้ (77) ผสมน้ำยาล้างแผล (78) น้ำยารักษาแผลในปาก (79)

            3.  ฤทธิ์ต้านฮีสตามีน

          สารสกัดว่านหางจระเข้สามารถยับยั้งฤทธิ์การหลั่งอีสตามีนของ mast cell จึงยับยั้งการแพ้ และอักเสบ (80) และการศึกษาต่อมาพบว่าวุ้นว่านหางจระเข้สามารถยับยั้งการหลั่งในกระเพาะอาหารเนื่องจากฮีสตามีน จึงช่วยลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (81) Aloe ulcin จากว่านหางจระเข้ยับยั้ง amino acid decarboxylase และ histidine decarboxylase ได้ดีกว่า aloin จึงลดการเกิดฮีสตามีน (82) และพบว่า magnesium lactate จะยับยั้ง histidine decarboxylase จึงลดการเกิดฮีสตามีนจากฮีสติดีน (9) นอกจากนี้ผู้ศึกษาฤทธิ์ของสารอื่นจากว่านหางจระเข้ Aloenin มีฤทธิ์ต้านการหลั่งฮีสตามีนจาก mast cell เนื่องจากสาร 48/80, concanavalin A+ phosphatidylserine และ ionophore A23187 แต่ไม่ได้ผลในกรณีที่ใช้ antigen กระตุ้น  ส่วน Barbaloin มีฤทธิ์แรงกว่าในการต้านฤทธิ์ compound 48/80 และ antigen แต่ให้ฤทธิ์อย่างอ่อนในการต้าน Con A+ phosphatidylserine และ ionophore A23187 Aloe emodin ต้านฤทธิ์ compound 48/80 แต่ไม่ต้านฤทธิ์ antigen (83)

4.    ฤทธิ์ต้านเชื้อ Helicobacter pylori

Helicobacter pylori เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร aloe emodin ซึ่งเป็นสาร anthraquinone ที่พบในส่วนยางของว่านหางจระเข้ สามารถยับยั้งการเจริญของ Helicobacter pylori (84)

            จากผลการวิจัยทั้งในสัตว์ทดลองและทางคลินิกจะเห็นว่าว่านหางจระเข้จะช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ โดยลดการอักเสบ สมานแผล ลดการหลั่งกรด และน้ำย่อย ทั้งยังช่วยสมานแผล จึงสามารถใช้เป็นยารักษาโรคกระเพาะได้ แต่ยังไม่มีผู้ทำออกในรูปแบบของยาที่เหมาะสม สารออกฤทธิ์จะอยู่ในส่วนวุ้น จึงอาจจะรับประทานวุ้นสดเพื่อช่วยบรรเทาอาการ

 

หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ

          ดูรายละเอียดในแก้งูสวัด เริม

 

เอกสารอ้างอิง

1.      Ajinomoto Co., Ltd.  Aloctin A as an antiulcer agent.  Patent: Jpn Kokai Tokkyo Koho JP 81,110,626 1981.

2.      Saito H, Imanishi K, Okabe S.  Effects of aloe extract, aloctin A, on gastric secretion and on experimental gastric lesions in rats.  Yakugaku Zasshi 1989;109(5):335-9.

3.      Ajinomoto Co., Ltd.  Aloctin B as an antiulcer agent.  Patent: Jpn Kokai Tokkyo Koho JP 81,110,627 1981.

4.      Hirata T, Suga T.  Biologically active constituents of leaves and roots of Aloe arborescens var natalensis.  Z Naturforsch Sect C Biosci 1977;32(9/10):731-4.

5.      Lee KY, Park JH, Chung MH, et al.  Aloesin up-regulates cyclin E/CDK2 kinase activity via inducing the protein levels of cyclin E, CDK2, and CDC25A in SK-HEP-1 cells.  Biochem Mol Biol Int 1997;41(2):285-92.

6.      Yagi A, Egusa T, Arase M, Tanabe M, Tsuji H.  Isolation and characterization of the glycoprotein fraction with a proliferation-promoting activity on human and hamster cells in vitro from Aloe vera gel.  Planta Med 1997;63(1):18-21.

7.      Yang M-R, Kang CG, Roh YS, et al.  The glycopeptide, a promoter of thymidine uptake from Aloe vera.  Nat Prod Sci 1998;4(2):62-7.

8.      Choi S-W, Son B-W, Son Y-S, Park Y-I, Lee S-K, Chung M-H.  The wound-healing effect of a glycoprotein fraction isolated from Aloe vera.  British J Dermatol 2001;145(4):535-45.

9.      Rubel BL.  Possible mechanisms of the healing actions of aloe gel.  Cosmet Toiletries 1983;98(6):109,109-14.

10.  Davis RH, Donato JJ, Hartman GM, Haas RC.  Anti-inflammatory and wound healing activity of a growth substance in Aloe vera.  J Am Podiatr Med Assoc 1994;84(2):77-81.

11.  Zhong Z, Zhou G.  Preliminary study of polysaccharide from Chinese aloe (Aloe vera var. chinensis) on experimental gastric ulcer in mice.  Zhongcaoyao 1995;26(2):83.

12.    Heggers JP, Naalon W, Pelley RP.  The effect of oral administration of aloe gel extracts upon the induction of cysteamine-induced gastric and duodenal ulcers in the male Sprague Dawley rat.  Int Congress of Phytotherapy, Seoul, Korea October 16-17 1991:52.

13.    Kandil A, Gobran W.  Protection of gastric mucosa by Aloe vera.  Bull Islamic Med 1982;16:68-72.

14.    Koo MWL.  Aloe vera : antiulcer and antidiabetic effect.  Phytother Res 1994;8(8):461-4.

15.    La-ongphanich S.  Ulcer-healing effect of Aloe vera gel, Aloe vera whole leaf extract and cimetidine on rat gastric ulcers induced by fasting, refeeding and cortisol injections.  MS Thesis Mahidol Univ, 1987.

16.    Mahattanadul S.  Antigastric ulcer properties of Aloe vera.  Songklanakarin J Sci Technol 1996;18(1):49-57.

17.    Parmar NS, Fariq M, Al Yahya MA, Agefl AM, Al Said MS.  Evaluation of Aloe vera leaf exudate and gel for gastric and duodenal anti-ulcer activity.  Fitoterapia 1986;LVII(5):380-3.

18.    Visuthipanich W.  Histochemical and pathological changes in rat gastric mucosa following Aloe vera gel and cortisol administrations.  MS Thesis Mahidol Univ 1988.

19.    Galal EE, Kandil A, Hegazy R, Ghoroury ME, Gobran W.  Aloe vera and gastrogenic ulceration.  J Drug Res Egypt 1975;7(2):73-8.

20.    Teradaira R, Shinazato M, Beppu H, Fujita K.. Antigastric ulcer effects in rats of Aloe arborescens Miller var. natalensis Berger extract.  Phytother Res 1993;7:S34-6.

21.    Maze G, Terpolilli RN, Lee M.  Aloe vera extract prevents aspirin-induced acute gastric mucosal injury in rats.  Medical Science Research 1997;25(11):765-6.

22.    Yusuf S, Agunu A, Diana M.  The effect of Aloe vera A. Berge (Liaceae) on gastric acid secretion and acute gastric mucosal injury in rats.  J Ethnopharmacol 2004;93:33-7.

23.    Faitel’berg RO, Stambol’skii MM.  Dynamics of the secretion of gastric juice in dogs during the long-term administration of vitamins, biogenic stimulants and organic preparations.  Vop Fiziol Pishch 1969:107-18.

24.    Suvitayavat W, Bunyapraphatsara N, Thirawarapan S, Watanabe K.  Gastric acid secretion inhibiotry and gastric lesion protective effect of aloe preparation.  Thai J of Phytocharmacy 1997;4(1):1-11.

25.    Blitz JJ, Smith JW, Gerard JR.  Aloe vera gel in peptic ulcer therapy: preliminary report.  J A O A 1963;62:731/77-735/81.

26.    Goff S, Levenstein I.  Measuring the effects of topical preparations upon the healing of skin wounds.  J Soc Cos Chem 1964;15:509-18.

27.    Davis RH, Kabbani JM, Maro NP.  Aloe vera and wound healing.  J Am Podiatr Med Assoc 1987;77(4):165-9.

28.    Davis RH, Leitner MG, Russo JM, Byrne ME.  Wound healing.  Oral and topical activity of Aloe vera.  J Am Podiatr Med Assoc 1989;79(11):559-62.

29.    Davis RH, Parker WL, Samson RT, Murdoch DP.  Isolation of a stimulatory system in an Aloe extract.  J Am Podiatr Med Assoc 1991;81(9):473-8.

30.    Davis RH, DiDonato JJ, Johnson RW, Stewart CB.  Aloe vera, hydrocortisone, and sterol influence on wound tensile strength and anti-inflammation.  J Am Podiatr Med Assoc 1994;84(12):614-21.

31.    Davis RH.  Aloe plant for promotion of wound healing.  Patant: U S US 5,487,899 1996:11pp.

32.    Udupa SL, Udupa AL, Kulkarni DR.  A comparative study on the effect of some indigenous drugs on normal and steroid-depressed healing.  Fitoteropia 1998;69(6):507-10.

33.    Graham SP.  Folk medicine remedies in wound healing.  Clinicl Res 1980;34(2):400A.

34.    Lion Corp.  Pharmaceuticals for wound healing.  Patent: Jpn Kokai Tokkyo Koho JP 58 15,918[83 15,918], 1983:15pp.

35.    Heggers JP, Kucukcelebi A, Stabenau CJ, et al.  Wound healing effects of aloe gel and other topical antibacterial agents on rat skin.  Phytother Res 1995;9:455-7.

36.    Muller MJ, Hollyak MA, Moaveni Z, Brown TLH, Herndon DN, Heggers JP.  Retardation of wound healing by silver sulfadiazine is reversed by Aloe vera and nystain.  Burns 2003;29:834-6.

37.    Heggers JP, Kucukelebi A, Listengarten D, et al.  Benefical effect of aloe on wound healing in an excisional wound model.  J Altern Compl Med 1996;2(2):271-7.

38.    Heggers JP, Elzaim H, Garfield R, et al.  Effect of the combination of Aloe vera, nitroglycerin, and L-NAME on wound healing in the rat excisional model.  J Altern Compl Med 1997;3(2):149-53.

39.    Chithra P, Sajithlal GB, Chandrakasan G.  Influence of Aloe vera on collagen turnover in healing of dermal wounds in rats.  Indian J Exp Biol 1998;36(9):896-901.

40.    Chithra P, Sajithlal GB, Chandrakasan G.  Influence of Aloe vera on collagen characteristic in healing dermal wounds in rats.  Mol Cell Biochem 1998;181(1/2):71-6.

41.    Chithra P, Sajithlal GB, Chandrakasan G.  Influence of Aloe vera on the healing of dermal wounds in diabetic rats.  J Ethnopharmacol 1998;59(3):195-201.

42.    Davis RH, Leitner MG, Russo JM.  Aloe vera. A natural approach for treating wounds, edema, and pain in diabetes.  J Am Podiatr Med Assoc 1988;78(2):60-8.

43.    Somboonwong J, Thanamittramanee S, Jariyapongskul A, Patumraj S.  Therapeutic effects of Aloe vera on cutaneous microcirculation and wound healing in second degree burn model in rats.  J Med Assoc Thai 2000;83(4):417-25.

44.    Northway RB.  Experimental use of Aloe vera extract in clinical practice.  Veterinary Med 1975;70(1):89.

45.    Swaim SF, Riddell KP, Mc Guire JA.  Effects of topical medications on the healing of open pad wounds in dogs.  J Amer Anim Hosp Ass 1992;28(6):499-502.

46.    Goldstein J.  Damaged fish tissue treatment with a composition containing Aloe vera extract.  Patent: U S US 4,500,510 1985:5pp.

47.    Watcher MA, Wheeland RG.  The role to topical agents in the healing of full-thickness wounds.  J Dermatol Surg & Oncol 1989;15(11):1188-95.

48.    Miller MB, Koltai PJ.  Treatment of experimental frostbite with pentoxifylline and Aloe vera cream.  Arch Otolaryngol Head Neck 1995;121(6):678-80.

49.    Barnes TC.  The healing action of extracts of Aloe vera leaf on abrasions of human skin.  Amer Jour Bot 1947;34(10):597.

50.    Fulton JE.  The stimulation of postdermabrasion wound healing with stabilized Aloe vera gel-polyethylene oxide dressing.  J Dermatol Surg Oncol 1990;16(5):460-7.

51.    Shurygin AY.  The effect of a preparation of bacterolysin in therapeutic combination with aloe on the regenerative processes in the uninfected wound.  Frunze 1967:274.

52.    Zawahry ME, Hegazy MR, Helal M.  Use of aloe in treating leg ulcers and dermatoses.  Int J Dermatol 1973;12(1):68-73.

53.    Bernhard JD.  Aloe vera and vitamin E as dermatologic remedies.  J Amer Med Ass 1988;259(1):101.

54.    Bhanganada K, Kiettiphongthavorn W, Kaewchantr M, et al.  The use of jel aloe as a wound dressing: A comparison between jel aloe and povidone iodine on the effect of wound healing.  Mahidol Univ Annual Res Abstr 1989;16:173-83.

55.    Hunter D, Frumkin A.  Adverse reactions to vitamin E and Aloe vera preparations after dermabrasion and chemical peel.  Cutis 1991;47(3):196-6.

56.    Leung AY.  Aloe vera in cosmetics.  Drug Cosmet Ind 1977;120:34.

57.    Verma SBS, Schnlze HJ. Steigleder GK.  The effect of externally applied remedies containing Aloe vera gel on the proliferation of the epidermis.  Perfumeric and Kometik 1989;70(8):452-9.

58.    Visulthikosol V, Sukwanarat Y, Chowchuen B, Sriurirata S, Boonpucknavig V.  Effect of Aloe vera gel to healing of burn wound.  A clinical and histologic study.  J Med Ass Thailand 1995;78(8):403-7.

59.    Thompson JE.  Topical use of Aloe vera derived allantoin gel in otolaryngology [letter].  Ear, Nose, & Throat J 1991;70(1):56.

60.    Fulton Jr JE.  Dermabrasion-Loo-punch-excision technique for the treatment of acne-induced osteoma cutis.  J Dermatol Surg Oncol 1987;13(6):655-9.

61.    Cobble HH.  Stabilized Aloe vera gel.  Patent: US 3,892,853 1975.

62.    Andriani E, Bugli T, Aalders M, et al.  The effectiveness and acceptance of a medical device for the treatment of aphthous stomatitis. Clinical observation in pediatric age.  Minerva Pediatrica 2000;52(1-2):15-20.

63.    Poor MR, Hall JE, Poor AS.  Reduction in the incidence of alveolar osteritis in patients treated with the salicept patch, containing acemannan hydrogel.  J Oral Maxillofac Surg 2002;60(4):374-9.

64.    Schmist JM, Greenspoon JS.  Aloe vera dermal wound gel is associated with a delay in wound healing.  Obstertrics & Gynecol 1991;78(1):115-7.

65.    Garnick JJ, Singh B, Winkley G.  Effectiveness of a medicament containing silicon dioxide, aloe and allantoin on aphthous stomatitis.  Oral Surgery, Oral Medicine, Oral Pathnology, Oral Radiology, and Endodontics 1998;86(5):550-6.

66.    Thomas DR, Goode PS, LaMaster K, Tennyson T.  Acemannan hydrogel dressing versus saline dressing for pressure ulcers, A randomized, controlled trial.  Adv Wound Care 1998;11(6):273-6.

67.    Brasher WJ, Zimmermann ER, Collings CK.  The effects of prednisolone, indomethacin, and Aloe vera gel on tissue culture cells.  Oral Surgery, Oral Medicine, and Oral Pathology 1969;27(1):122-8.

68.    Winters WD, Benavides R, Clouse WJ.  Effects of aloe extracts on human normal and tumor cells in vitro.  Economic Bot 1981;35(1):89-95.

69.    Danhof IE, McAnalley BH.  Stabilized Aloe vera: effect on human skin cells.  Drug Cosmetic Indistry, August 1983;133(2):53-4,101.

70.    Heggers, JP, Pelley RP, Robson MC.  Beneficial effects of aloe in wound healing.  Phytother Res 1993;7:S48-S52.

71.    Chithra P, Sajithlal GB, Chandrakasan G.  Influence of Aloe vera on the glycosaminoglycans in the matrix of healing dermal wounds in rats.  J Ethonopharmacol 1995;59:179-86.

72.    Barrantes E, Guinea M.  Inhibition of collagenase and metalloproteinases by aloins and aloe gel.  Life Sci 2003;72:843-50.

73.    Mcanalley BH, Carpenter RH, Mcdaniel HR.  Wound healing accelerated by systemic administration of polysaccharide from aloe.  Patent: U S US 5,488,737 1995:12pp.

74.    Qiu Z, Mahiou B, Pasmapriya AA, Farrow T.  Process for the preparation of immunomodulatory polysaccharides from aloe.  Patent: U S US 2003 96,378 2003;17pp.

75.    Pickart LR.  Metal complexes of aloe extracts for wound healing and hair growth promotion.  Patent: PCT Int Appl WO 95 26,198 1995:29pp.

76.    Serban GP, Henry SM, Cotty VF, Marcus AD.  In vivo evaluation of skin lotions by electrical capacitance: I. The effect of several lotions on the progression of damage and healing after repeated insult with sodium lauryl sulfate.  J Soc Cosmet Chem 1981;32:407-19.

77.    Yamada M.  Aloe-containing degreasing cottons for skin cleaning.  Patent: Jpn Kokai Tokkyo Koho JP 08,168,517 [96,168,517] 1996:3pp.

78.    Mulder G.  Wound cleansers free of sensitizing agents.  Patent: U S US 5,565,189 1996:4pp.

79.    Schulman JM.  Medicated gels for healing apthous ulcers.  Patent: U S US 5,503,822 1996:3pp.

80.    Yamamoto M, Sugiyama K, Yokota M, Maeda y, Nakagomi K, Nakazawa H.  Inhibitory effects of aloe extracts on antigen and compound 48/80-induced histamine release from rat peritoneal mast cells.  Jpn J Toxicol Environ Health 1993;39(5):395-400.

81.    Suvitayavat W, Sumrongkit C, Thirawarapan SS, Bunyapraphatsara N.  Efffects of aloe preparation on the histamine-induced gastric secretion in rats.  J Ethnopharmacol 2004;90:239-47.

82.    Yamamoto I.  New substance, aloe ulcin, its chemical properties and inhibition of histamine synthesizing enzyme.  Toho Igakkui Zasshi 1970;17(3/4):361-4.

83.    Nakagomi K, Yamamoto M, Tanaka H, et al.  Anti-allergic antivity of aloe components on rat mast cells.  Poster present at JSPS-NRCT Core university exchange system on Pharmaceuticel Sciences 1st seminar, December 3-5, 1992, Chiang Mai, Thailand.

84.    Wang HH, Chung JG, Ho CH, Wu LT, Chang SH.  Aloe-emodin effects on arylamine N-acetyltransferase activity in the bacterium Helicobacter pylori.  Planta Med 1998;64:176-8.