1.  ชื่อสมุนไพร           กะเพรา

          ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum tenuiflorum L.

          ชื่อวงศ์           LAMIACEAE (LABIATAE)

          ชื่อพ้อง           Ocimum sanctum L.

          ชื่ออังกฤษ        Holy basil, Sacred basil

          ชื่อท้องถิ่น        กอมก้อดง, กอมก้อ, กะเพราขาว, กะเพราแดง, ห่อกวอชู, ห่อตูปลู, อิ่มคิมหลำ

 

2.  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

          ไม้ล้มลุก มีกิ่งก้านเป็นเหลี่ยม มีขนปกคลุม ใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามเป็นคู่ๆ  เป็นรูปรีหรือรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือมน ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย โคนใบแหลมหรือมน ตามเส้นใบมีขน ดอกเป็นช่อคล้ายฉัตร ออกที่ปลายกิ่ง ใบประดับเป็นรูปไข่ ปลายแหลม ขอบมีขน ดอกติดรอบแกนช่อเป็นระยะๆ บานจากด้านล่างขึ้นไปด้านบน กลีบดอกมีสีชมพูแกมม่วง แยกเป็น 2 ปาก ปากบนหยักเป็นรูปหอก 4 หยัก ปากล่างยื่นยาว ผลแห้งแตกได้แบ่งเป็น 4 ผลย่อยเชื่อมติดกัน เมล็ดมีรูปรี

 

3.  ส่วนที่ใช้เป็นยาและสรรพคุณ

          -ใบ               ขับลม  (1)

 

4.  สารสำคัญที่เชื่อว่าเป็นสารออกฤทธิ์ หรือสารที่ใช้ประเมินคุณภาพของสมุนไพร

          Ursolic acid มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่ง histamine จาก mast cell และ eugenol ในน้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย (2) และขับน้ำดี (3) นอกจากนี้ยังมีสารที่ลดการอักเสบ ได้แก่  cirsilineol, cirsimaritin, isothymonin, apigenin, rosmaric acid และ eugenol (4, 5)

 

5.  ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

          5.1   ฤทธิ์ขับลม

                 กะเพรามีน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีฤทธิ์ขับลม (1)  eugenol ในน้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียที่ทำให้เกิดทำให้ท้องเสีย (2, 6, 7)

          5.2   ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร

                 เมื่อให้สารสกัดจากกะเพราด้วยแอลกอฮอล์ร้อยละ 70 ทางท่อตรงเข้าที่กระเพาะอาหารหนูแรทในขนาด 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มีผลรักษาแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากแอสไพริน หรือการทำให้เกิดความเครียดด้วยความเย็น (8) เมื่อป้อนหนูแรทด้วยสารสกัดจากผงใบกะเพราด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ขนาด 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 วัน (9)  หรือฉีดน้ำมันจากเมล็ดกะเพรา ขนาด 1-3 มิลลิลิตร/กิโลกรัม เข้าทางช่องท้องของหนูตะเภา (10) ที่เหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น แอสไพริน แอลกอฮอล์ ฮีสตามีน การผูกที่รอยต่อระหว่างกระเพาะอาหารกับลำไส้เล็ก (pyloric ligation) (9) อินโดเมธาซิน เรสเซอปีน ซีโรโทนิน และ ความเครียด (10) พบว่าสามารถลดการหลั่งกรดและป้องกันการทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารจากสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ได้ (5, 9, 10)

          5.3   ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้

                 สารสกัดจากใบกะเพราด้วยน้ำ หรือสารสกัดแอลกอฮอล์ร้อยละ 49  มีผลคลายกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้หนูตะเภา (11-15) และกระต่าย (11) ที่กล้ามเนื้อลำไส้ถูกกระตุ้นให้บีบตัวด้วยฮีสตามีน อะเซทิลโคลีน และคาร์บาคอล

          5.4   ฤทธิ์ขับน้ำดี

                 กะเพรามีสาร eugenol (16-18) ซึ่งมีฤทธิ์ขับน้ำดี (3)

          5.5   ฤทธิ์ลดการอักเสบ

                 สารสกัดจากใบกะเพราด้วยน้ำและเมทิลแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์บรรเทาการอักเสบของอุ้งเท้าหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้อักเสบด้วยคาราจีแนนและน้ำมันละหุ่ง (5,19) สาร eugenol ในกะเพรามีฤทธิ์ลดการอักเสบโดยยับยั้งการสังเคราะห์พรอสต้าแกลนดิน (prostaglandin) (4) สารสกัดจากใบกะเพราด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ร้อยละ 50  น้ำมันหอมระเหย  (20) และน้ำมันจากเมล็ดกะเพรา (20-22) มีฤทธิ์ลดการอักเสบของอุ้งเท้าหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยคาราจีแนน (20-22) ซีโรโทนิน และฮีสตามีน (20) กรดไขมันจากน้ำมันเมล็ดกะเพรา ได้แก่ stearic acid, palmitic acid, oleic acid, linoleic acid และ linolenic acid มีฤทธิ์ลดการบวมของอุ้งเท้าหนูจากการเหนี่ยวนำให้อักเสบด้วยคาราจีแนน พรอสต้าแกลนดิน อี 2 (PGE2)  leukotriene และ arachidonic acid (5, 19, 23)  นอกจากนี้น้ำมันเมล็ดกะเพรายังสามารถลดการอักเสบของข้อเข่าหนูแรท เมื่อให้รับประทานเป็นเวลา 10 วัน โดยน้ำมันเมล็ดกะเพราขนาด 3 มิลลิลิตร/กิโลกรัม จะมีผลยับยั้งเทียบเท่ากับยาแอสไพรินขนาด 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (5, 24)  น้ำมันหอมระเหยจากใบกะเพราออกฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยยับยั้งเอ็นไซม์ 5-lipoxygenase ได้ดีกว่า กรด nordihydroquaretic  (25) ตำรับยาที่มีกะเพราเป็นส่วนประกอบมีฤทธิ์ลดการอักเสบของอุ้งเท้าหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยสารคาราจีแนน และฟอร์มาลีน (26) สารสกัดจากใบ ลำต้นของกะเพรา และสารที่แยกได้จากกะเพราได้แก่ cirsilineol, cirsimaritin, isothymonin, apigenin, rosmaric acid และ eugenol ที่ความเข้มข้น 1 มิลลิโมล/ลิตร มีฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบได้ (4-5, 19-27)

          5.6   ฤทธิ์แก้ปวด ลดไข้

                 สารสกัดจากใบกะเพราด้วยแอลกอฮอล์ ขนาด 50 และ 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูเม้าส์ หรือป้อนทางปากในขนาด 50, 100 และ 200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สามารถยับยั้งอาการปวดได้ในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการปวดโดยการฉีดกรดอะซิติกเข้าทางช่องท้อง และโดยการทดสอบวางหางหนูบนแผ่นโลหะร้อน (28

                 สารสกัดจากใบกะเพราด้วยน้ำและเมทิลแอลกอฮอล์ และน้ำมันกะเพรามีฤทธิ์บรรเทาปวดลดไข้(19) เมื่อฉีดน้ำมันกะเพราขนาด 3 มิลลิลิตร/กิโลกรัมเข้าทางช่องท้องหนูแรทที่มีไข้จากการได้รับวัคซีนไทฟอยด์-พาราไทฟอยด์ พบว่าสามารถลดไข้ได้เทียบเท่ากับยาแอสไพริน (5) สารสกัดจากใบกะเพราด้วยเมทิลแอลกอฮอล์มีฤทธิ์บรรเทาอาการเจ็บปวดของหนูที่เหนี่ยวนำให้เส้นประสาทอักเสบ (neuropathy) โดยการตัดเส้นประสาทที่สะโพก (sciatic nerve transection) (29)

          5.7   ฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง

                 เมื่อป้อนสารสกัดจากรากกะเพราด้วยเมทิลแอลกอฮอล์ให้หนูในขนาด 50-150 มิลลิกรัม/กิโลกรัม   จะทำให้หนูเคลื่อนไหวน้อยลง และมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อ นอกจากนี้สารสกัดจากกะเพรายังออกฤทธิ์เป็นยานอนหลับอ่อนๆ (30) และคลายเครียดได้ (5, 19, 31)

          5.8   ฤทธิ์ปกป้องตับ

                 เมื่อฉีดสารสกัดจากทั้งต้นด้วยแอลกอฮอล์ร้อยละ 70 ขนาด 200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เข้าช่องท้องหนูเม้าส์ (8) หรือป้อนยาตำรับต่างๆ ที่มีกะเพราเป็นส่วนประกอบให้หนูแรท (32) ได้แก่ สารสกัดใบกะเพราขนาด 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ป้อนหนูเม้าส์นาน 10 วัน (33)   สารสกัดกะเพราด้วยน้ำเย็น ขนาด 3 กรัม/100 กรัม ป้อนหนูเป็นเวลา 6 วัน และสารสกัดกะเพราด้วยแอลกอฮอล์ ขนาด 200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พบว่าสารสกัดกะเพราดังกล่าวสามารถป้องกันตับจากการถูกทำลาย ด้วยคาร์บอนเตตตระคลอไรด์ ยาพาราเซตามอล และสารปรอทได้ (5, 8, 32, 33)

          5.9   ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย

                 สารในกลุ่ม phenol, tannin และ saponin จากต้นกะเพรา (30, 34) และสารสกัดด้วยเอทิลแอลกอฮอล์  เมทิลแอลกอฮอล์ในน้ำ น้ำ และน้ำมันหอมระเหยจากกะเพรา (6, 3) สามารถต้านเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคได้แก่ Escherichia coli  (5, 6, 34) Shigella dysenteriae (34) Staphylococcus aureus, Klebsiella, Proteus (5) และเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ที่ดื้อยาได้แก่ Salmonella typhi (7)  S. aureus และ Neisseria gonorrhea (5) น้ำมันหอมระเหยจากใบกะเพรายังมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว Propionibacterium acnes (25) และต้านเชื้อยีสต์ (Candida albicans) (35)  นอกจากนี้น้ำมันกะเพรายังสามารถออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย  S. aureus, Bacillus pumilus และ Pseudomonas aeruginosa ได้ โดยคาดว่าสารออกฤทธิ์ต้านแบคทีเรียในน้ำมันกะเพราคือ linolenic acid (5, 36)

          5.10 ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

                 สารฟีนอลิก เช่น cirsilineol, cirsimaritin, isothymusin, apigenin, rosmarinic acid และ eugenol และสารฟลาโวนอยด์ ได้แก่ orientin และ vicenin ในใบกะเพรามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าสามารถลดการเกิดออกซิเดชันของไขมันที่เกิดจากการฉายแสงในตับหนูเม้าส์ (5) น้ำมันหอมระเหยจากใบกะเพรามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่ากรดแอสคอร์บิค (วิตามิน ซี) (25)

          5.11 ฤทธิ์ต่อหัวใจและหลอดเลือด

                 น้ำมันกะเพราฉีดเข้าหลอดเลือดสุนัขทำให้หลอดเลือดส่วนปลายขยายตัว และความดันโลหิตลดลง น้ำมันกะเพราขนาด 3 มิลลิลิตร/กิโลกรัม ฉีดเข้าช่องท้องสัตว์สามารถช่วยป้องกันเลือดแข็งตัวได้เทียบเท่ากับแอสไพริน ขนาด 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม นอกจากนี้พบว่าการกินกะเพราระยะยาวช่วยป้องกันการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย (myocardial necrosis) ที่ถูกเหนี่ยวนำโดย isoproterenol ในหนูแรท โดยมีกลไกการป้องกันผ่านกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ (5)

          5.12 ลดน้ำตาลในเลือด

                 การทดสอบในคนพบว่ากะเพราสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังอาหาร และในปัสสาวะ  และสารสกัดกะเพราสามารถลดน้ำตาลในเลือดหนูแรทที่เป็นเบาหวานให้เป็นปกติได้ นอกจากนี้กะเพรายังมีฤทธิ์ต้านเอนไซม์ aldose reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดต้อกระจกในผู้ป่วยเบาหวาน (5)  

          5.13 ฤทธิ์ป้องกันอันตรายจากรังสี

                 สารสกัดใบกะเพราช่วยเสริมฤทธิ์ WR-2721 ซึ่งเป็นสารป้องกันรังสีสังเคราะห์ ในการป้องกันอันตรายจากการฉายรังสีที่เซลล์ไขกระดูก การใช้ร่วมกันจะช่วยลดความเป็นพิษของ WR-2721 เมื่อใช้ในขนาดสูง นอกจากนี้สารฟลาโวนอยด์ที่แยกได้จากใบกะเพรา คือ orientin และ vicenin มีฤทธิ์ป้องกันอันตรายจากการฉายรังสีของเซลล์เม็ดเลือดขาวได้เทียบเท่าสารป้องกันรังสีสังเคราะห์ (5)

          5.14 ฤทธิ์ต้านมะเร็ง

                 สารสกัดใบกะเพราด้วยเอทิลแอลกอฮล์ มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง fibroblasts (37) และยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปอด (Lewis lung carcinoma) ที่ปลูกถ่ายให้หนูเม้าส์ (38) ออกฤทธิ์ต้านการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งและเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งด้วยการยับยั้งการเกาะกันของเซลล์ (cell adhesion) ยับยั้งการแทรกตัวเข้าไปในเซลล์ปกติ (invasion) และยับยั้งการทำงานของ matrix metalloproteinase-9 (MMP-9) ทำให้ขนาดก้อนเนื้องอกและน้ำหนักปอดหนูที่ถูกปลูกถ่ายเซลล์มะเร็งปอด (A548) ลดลง (39)  นอกจากนี้ ยังพบว่าสารสกัดกะเพรามีฤทธิ์ต้านมะเร็งในหนูเม้าส์ที่ปลูกถ่ายด้วยเซลล์มะเร็งเต้านม (Ehrlich ascites carcinoma) และมะเร็งชนิด Sarcoma 180  และลดการเกิดมะเร็งในหนูแรทที่ถูกทำให้เป็นมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งตับ และสารสกัดใบกะเพราด้วยแอลกอฮอร์มีฤทธิ์ต้านการเกิดมะเร็งผิวหนัง (skin papillomas) ที่เหนี่ยวนำด้วยสารเคมีในหนูเม้าส์ (5) น้ำมันหอมระเหยจากใบกะเพรามีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว  และมะเร็งปากมดลูก ในหลอดทดลอง (40) นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดใบกะเพราด้วยแอลกอฮอร์มีฤทธิ์กระตุ้นเอ็นไซม์ที่เกี่ยวข้องในการกำจัดสารพิษและสารก่อมะเร็งได้แก่ cytochrome P 450, cytochrome b5, aryl hydrocarbon hydroxylase และ glutathione S-transferase (GST) (5)

          5.15 ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน

                 น้ำมันหอมระเหยจากใบกะเพรา และน้ำมันเมล็ดกะเพราช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในหนูแรท (5)

          5.13 ฤทธิ์อื่นๆ

                 สารสกัดกะเพราทั้งต้นด้วยแอลกอฮอลมีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการหลงลืมจากฤทธิ์ยาสโคโพลามีน และความจำเสื่อมจากความชราในหนูเม้าส์ (5)   สารสกัดใบกะเพราด้วยน้ำช่วยชะลอการเกิดต้อกระจกในการทดลอง  (5)

 

6.  อาการข้างเคียง

          ไม่มีรายงาน

 

7.  ความเป็นพิษทั่วไปและต่อระบบสืบพันธุ์

          7.1   การทดสอบความเป็นพิษ

                 การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันพบว่าสารสกัดกะเพราทั้งต้นด้วยแอลกอฮอล์ และเอทิลแอลกอฮอล์ร้อยละ 70 มีความเป็นพิษปานกลาง (8, 41) สารสกัดจากใบกะเพราด้วยแอลกอฮอล์ มีความเป็นพิษปานกลาง (8, 42) สารสกัดจากใบกะเพราด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ร้อยละ 50 และ 70 มีความเป็นพิษน้อยถึงไม่เป็นพิษ (43-46) สารสกัดจากใบด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ร้อยละ 50 เมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนูพบว่าขนาดสูงสุดที่ทนได้คือ 1 กรัม/กิโลกรัม (47) สารสกัดกะเพราด้วยน้ำไม่เป็นพิษเมื่อป้อนหนูแรทในขนาด 2 กรัม/กิโลกรัม (48) หรือผงใบกะเพราในน้ำไม่พบความเป็นพิษเมื่อป้อนหนูเม้าส์ในขนาด 7 กรัม/กิโลกรัม (49)  ส่วนน้ำมันกะเพราขนาดที่ทำให้หนูแรทตายครึ่งหนึ่งเท่ากับ 42.5 มิลลิลิตร/กิโลกรัม (5)

                 จากการทดสอบความเป็นพิษกึ่งเฉียบพลัน พบว่าเมื่อฉีดน้ำมันเมล็ดกะเพราเข้าทางช่องท้องหนูในขนาด 3 มิลลิลิตร/กิโลกรัม ทุกวันเป็นเวลา 14 วันไม่แสดงความเป็นพิษ (5, 21) สารสกัดใบกะเพราไม่เป็นพิษ เมื่อป้อนหนูเมาส์ในขนาด 7.5 กรัม/กิโลกรัม ทุกวันจนหนูมีอายุ 8 สัปดาห์ (50)

                 การทดสอบความเป็นพิษกึ่งเรื้อรัง พบว่าสารสกัดกะเพราด้วยน้ำไม่เป็นพิษ เมื่อป้อนหนูแรทในขนาด 1 ก./กก. ทุกวัน เป็นเวลา 13 สัปดาห์ (48)

          7.2   ความเป็นพิษต่อตัวอ่อน

                 สารสกัดด้วยเบนซีนในขนาด 200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เป็นพิษต่อตัวอ่อน (51)   สารสกัดใบกะเพราด้วยน้ำเป็นพิษต่อตัวอ่อน เมื่อป้อนหนูเพศเมียในขนาด 100 และ 200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (52)  สารสกัดรากด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ ขนาด 200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ป้อนเข้าทางกระเพาะหนูที่ตั้งท้อง ไม่ทำให้แท้ง (53)  สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ 50% ฉีดเข้าช่องท้องหนูในขนาด 1 กรัม/กิโลกรัม ไม่พบความเป็นพิษต่อตัวอ่อน (54)

          7.3   ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

                 เมื่อป้อนหนูเมาส์ด้วยสารสกัดจากใบกะเพราในขนาด 2.5 กรัม/กิโลกรัม ติดต่อกันนาน 21 วัน ไม่พบฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ และมีแนวโน้มจะต้านการก่อกลายพันธุ์ที่ถูกกระตุ้นด้วยยาไซโคลฟอสฟาไมด์ (cyclophosphamide) ไมโตไมซิน ซี (mitomycin C) และโคลชีซิน (colchicine) (50)

                 เมื่อป้อนสารสกัดจากใบกะเพราด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ร้อยละ 70 ไม่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ และไม่ทำให้เกิดไมโครนิวเคลียส  แต่สามารถต้านการก่อกลายพันธุ์และสามารถลดการเกิดไมโครนิวเคลียสจากการถูกกระตุ้นด้วยไซโคลฟอสฟาไมด์ เมื่อป้อนหนูแรททั้งที่ได้รับและไม่ได้รับการปลูกถ่ายเซลล์มะเร็งตับ (AS-30D) ในขนาด 5 กรัม/กิโลกรัม เป็นเวลา 7 วัน อย่างไรก็ตามไม่พบว่าสารสกัดใบกะเพรามีฤทธิ์ต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งตับ (21, 44)  

                 สารสกัดใบกะเพราด้วยน้ำ ขนาด 0.5 มิลลิลิตร/จานเพาะเชื้อ ไม่พบฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อเชื้อ Bacillus subtilis M-45, B. subtilis H-17 (55) ชาใบกะเพราสามารถยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ของเชื้อ S. typhinurium สายพันธุ์ TA100 ได้เล็กน้อย แต่กระตุ้นการก่อกลายพันธุ์ในเชื้อ S. typhinurium สายพันธุ์ TA98 (56) สาร methyleugenol ซึ่งพบมากในน้ำมันหอมระเหยจากใบกะเพราเป็นสารก่อกลายพันธุ์และก่อมะเร็ง (31)

          7.4   พิษต่อระบบสืบพันธุ์

                 ใบกะเพราสดเมื่อให้แก่กระต่ายวัยเจริญพันธุ์ทั้งสองเพศ ขนาด 1 กรัม/กิโลกรัม สัปดาห์ละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 1 เดือน พบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงที่อวัยวะเพศได้แก่อัณฑะ ท่อเก็บอสุจิ มดลูก และรังไข่ของสัตว์ทดลอง จำนวนอสุจิลดลง และการตั้งท้องจะเกิดขึ้นได้เมื่อสัตว์ทดลองได้รับการผสมพันธุ์หลังจากหยุดให้ใบกะเพรา 1 เดือน (31) 

                 สารสกัดใบกะเพราด้วยตัวทำละลายเบนซีนให้แก่หนูแรท ขนาด 250 กรัม/กิโลกรัม เป็นเวลา 48 วัน พบว่าปริมาณ และการเคลื่อนไหวของอสุจิ  ปริมาณฟรุคโตสในน้ำอสุจิ และน้ำหนักของอัณฑะหรืออวัยวะสืบพันธุ์ลดลง  แสดงว่าสารสกัดใบกะเพรามีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนแอนโดรเจน (antiandrogenic) แต่การทำงานของฮอร์โมนจะกลับเป็นปกติหลังจากหยุดให้สารสกัดกะเพราเป็นเวลา 2 สัปดาห์ (5, 57)

 

8. วิธีการใช้เหง้ากระเพรารักษาอาการแน่น จุกเสียด

8.1   ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)

                 ใช้ใบและยอด 1 กำมือ (น้ำหนักสดประมาณ 25 กรัมแห้ง) ประมาณ 4 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม เหมาะเป็นยาขับลมสำหรับเด็ก (58, 59)

                 ใช้ใบสด 3 ใบ ผสมเกลือบดให้ละเอียด แล้วละลายในน้ำสุก หรือน้ำผึ้ง หยอดให้เด็กอ่อนที่คลอดได้ราว 2-3 วัน เป็นยาขับลม (60)

                 กินใบกะเพราสดทุกวันแก้โรคกระเพาะได้ (8)

8.2   ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ

                            ไม่มี

 

เอกสารอ้างอิง

 

1.             Ross MSF, Brain KK. An Introduction to phytopharmacy. London: Pithman Medical Publishing Co. Ltd. 1977. p.158-76.

2.             Rajasekarn M, Sudhadaran C, Pradhan SC, Bapna JS, Nair AGR.  Mast cell protective activity of ursolic acid - a triterpene from the leaves of Ocimum sanctum L. and its antimicrobial activity. Indian Perfum 1984;28(2):82-7.

3.             Yamahara J, Kobayashi M, Saiki Y, Sawada T, Fujimura H. Biologically active principles of crude drugs: Pharmacological evaluation of cholagogue substances in clove and its properties. J Pharmacobio-Dyn 1983;6(5):281-6.

4.             Burstein S, Taylor P, EL-Feraly FS, Tumer C. Prostaglandins and cannabis V. Identification of p-vinylphenol as a potent inhibitor of prostaglandin synthesis. Biochem Pharmacol 1976;25(17):2003-4.

5.             Pandey G, Madhuri S. Pharmacological activities of Ocimum sanctum (Tulsi): a review. Int J Pharm Sci Rev Res 2010;5(1):61-6.

6.             Okonogi S, Sekine T, Fujii Y, Pongpaibul Y, Murakoshi I. Antimicrobial activities of some medicinal plants family Labitae. Proceedings of 15th Asian Congress of Pharmaceutical Sciences, 15-19 November, Bangkok Thailand 1994. p.132.

7.             Phulan R, Neeraj K. Antimicrobial evaluation of some medicinal plants for their anti-enteric potential against multi-drug resistant Salmonella typhi. Phytother Res 2004;18(8):670-3.

8.             Bhargava KP, Singh N. Anti-stress activity of Ocimum sanctum Linn. Indian J Med Res 1981;73 443-51.

9.             Dharmani P, Kuchibhotla VK, Maurya R, Srivastava S, Sharma S, Palit G.  Evaluation of anti-ulcerogenic and ulcer-healing properties of Ocimum sanctum Linn. J Ethnopharmacol 2004;93:197-206.

10.         Singh S, Majumdar DK. Evaluation of gastric antiulcer activity of fixed oil of Ocimum sanctum (Holy Basil). J Ethnopharmacol 1999;65:13-9.

11.         Singh TJ, Das Gupta P, Khan SY, Mishra KC. Preliminary pharmacological investigations of Ocimum sanctum Linn. Indian J Pharm 1970;32(4):92-4.

12.         Dhar ML, Dhar MM, Dhawan BN, Mehrotra BN, Ray C. Screening of Indian plants for biological activity: Part I. Indian J Exp Biol. 1968;6:232-45.

13.         Mokkhasmit M, Ngarnwathana W, Sawasdimongkol K, Permphiphat U. Pharmacological evaluation of Thai medicinal plants. (continued). J Med Assoc Thai 1971;54(7):480-94.

14.         Sharma G. Antiasmatic efficacy of Ocimum sanctum. Sachitra Ayurve 1983;35(10):665-8.

15.         Worawuthi N, Srimuninthranimit W. Effect of Ocimum sanctum leaves on guinea pig ileums. Special project for the degree of B. Sc., Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Mahidol Univ. Bangkok:Thailand 1982.

16.         Dey BB, Choudhuri MA. Effect of leaf development stage on changes in essential oil of Ocimum sanctum L. Biochem Physiol Pflanz 1983;178(5):331-5.

17.         Dey BB, Choudhuri MA, Laskar S.  Changes in the composition of essential oil of Ocimum sanctum L. during reproductive development with special reference to the effects of growth regulators. PAFAI J 1981;3(2):12-5.

18.         Dey BB, Choudhuri MA. Essential oil of Ocimum sanctum L. and its antimicrobial activity. Indian Perfum 1984;28(2):82-7.

19.         Joseph JC. Phytotherapeutic Management of Endocrine Dysfunctions. Nutri News 2006;8(1):1-8. 

20.    Singh S, Agrawal SS. Anti-asthmatic and anti-inflammatory activity of Ocimum sanctumInt J Pharmacognosy 1991; 29(4): 306-10.

21.         Singh S, Majumdar DK. Anti-inflammatory and antipyretic activities of Ocimum sanctum fixed oil.  Int J Pharmacognosy 1995; 33(4): 288-92.

22.         Singh S, Majumdar DK, Rehan HMS. Evaluation of anti-inflammatory potential of fixed oil of Ocimum sanctum (Holybasil) and its possible mechanism of action. J Ethnopharmacol 1996;54:19-26.

23.         Singh S, Majumdar DK, Yadav MR. Chemical and pharmacological studies on fixed oil of  Ocimum sanctum.  Indian J Exp Biol 1996;34(12):1212-5.

24.         Singh S, Majumdar DK. Effect of fixed oil of Ocimum sanctum against experimentally induced arthritis and joint edema in laboratory animals. Int J Pharmacognosy 1996;34(3):218-22.

25.         Lertsatitthanakorn P, Taweechaisupapong S, Aromdee C, Khunkitti W. In vitro bioactivities of essential oils used for acne control. Int J Aromatherapy 2006;16(1):43-8.

26.         Mary NK, Babu BH, Padikkala J. Antiatherogenic effect of CAPS HT2, a herbal Ayurvedic medicine formulation. Phytomedicine 2003;10:454-82.

27.         Kelm MA, Nair MG, Starsburg GM, DeWitt DL. Antioxidant and cyclooxygenase inhibitory phenolic compounds from Ocimum sanctum L. Phytomedicine 2007;7(1):7-13. 

28.         Khanna N, Bhatia J. Antinociceptive action of Ocimum sanctum (Tulsi) in mice: possible mechanism involved. J Ethnopharmacol 2003;88:293-6. 

29.    Muthuraman A, Diwan V, Jaggi AS, Singh N, Singh D. Ameliorative effects of Ocimum sanctum in sciatic nerve transection-induced neuropathy in rats. J Ethnopharmacol 2008;120:56–62.

30.         Mukherjee J, Bhaumik U, Mukherjee PK, Saha BP. CNS activity of the methanol extract obtained from the roots of Ocimum sanctum LINN. Pharmacologyonline 2009;2:673-85.

31.         ESCO Working Group on Botanicals and Botanical Preparations. EFSA Journal 2009;7(9):280-384.

32.         Nadeem M, Dandiya, Pasha KV, Imran M, Balani DK, Vohora SB. Hepatoprotective activity of some herbal formulations available in India. Indian Drugs 1996;33(8):390-6. 

33.         Sharma MK, Kumar M, Kumar A. Evaluation of metalloprotective effect of Ocimum sanctum against mercury induced hepatotoxicity in swiss albino mice. The 3rd World Congress on Medicinal Plant and Aromatic Plants for Human Welfare, 3-7 Feb, Chiang Mai, Thailand, 2003. p.31. 

34.         Ahmad I, Beg AZ. Antimicrobial and phytochemical studies on 44 Indian medicinal plants against multi-drug resistant human pathogens. J Ethnopharmacol 2001;74:113-23. 

35.         Mondal S, Mahapatra SC, Naik, SN, Mirdha BR. Antimicrobial activities of essential oils obtained from fresh and dried leaves of Ocimum sanctum (L.) against enteric bacteria and yeast. Proceedings of the International Symposium on Medicinal and Nutraceutical Plants, New Delhi India 2007. p.267-9.

36.         Singh S, Manjusha M, Majumdar D K. Antibacterial activity of Ocimum sanctum L. fixed oil. Indian J Exp Biol 2005;43(9):835-7.

37.    Karthikeyan K, Gunasekaran P, Ramamurthy N, Gvindasamy S. Anticancer activity of Ocimum  sanctum. Pharmaceutical Biol 1999;37(4):285-90.

38.         Magesh V, Lee J-C, Ahn KS, et al. Ocimum sanctum induces apoptosis in A549   lung cancer cells and suppresses the in Vivo growth of lewis lung carcinoma cells. Phytother Res 2009;23:1385–91.

39.         Kim S-C, Magesh V, Jeong S-J, et al. Ethanol extract of Ocimum sanctum exerts anti-metastatic activity through inactivation of matrix metalloproteinase-9 and enhancement of anti-oxidant enzymes. Food Chem Toxicol 2010;46:1458–82.

40.    Manosroi J, Dhamtanom P, Manosroi A. Cytotoxic activity and apoptosis induction of the essential oil from Thai medicinal plants on P388 and HeLa cell lines. 31st Congress on Science and technology of Thailand at Suranaree University of Technology, 18-20 October, Nakon Ratchasima, Thailand, 2005.

41.    Chattopadhyay RR. A comparative evaluation of some blood sugar lowering agents of plant origin.  J Ethnopharmacol 1999;67(3):367-72.

42.          Parra AL, Yhebra RS, Sardiñas IG, Buela LI. Comparative study of the assay of Artemia salina L. and the estimate of the medium lethal dose (LD50 value) in mice, to determine oral acute toxicity of the plant extracts. Phytomedicine 2001;8(5):395-400.

43.    ธานี ศุขกลิ่น  เอกชัย คุ้มพันธุ์  พรทิพย์ ฐิตะพานิชย์  กาญจนา เข่งคุ้ม  วันทนีย์ รัตนศักดิ์ ดรุณี บุรีภักดี ลอว์สัน. การศึกษาพิษเฉียบพลันของสารสกัดจากใบกะเพราด้วยสารละลายเอทิลแอลกอฮอล์ 70% เอทิลแอลกอฮอล์ ในหนูเมาส์สายพันธุ์ ICR และหนูแรทสายพันธุ์ Sprague-Dawley. การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 1 พันธมิตรร่วมใจเพื่อการสร้างสุขภาพยุคใหม่, 1-2 พฤษภาคม, กรุงเทพฯ, 2537. 

44.     Mokkhasmit M, Swatdimongkol K, Satrawaha P. Study on toxicity of Thai medicinal plants. Bull Dept Med Sci 1971;12(2/4):36-65.

45.     เอกชัย คุ้มพันธ์ พรทิพย์ ฐิตะพานิชย์ วิภาวี วิสาวะโท ดรุณี บุรีภักดี ลอว์สัน. การศึกษาคุณสมบัติต้านการก่อกลายพันธุ์พร้อมกับคุณสมบัติต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งตับของสารสกัดจากใบกะเพราในหนูแรท Sprague-Dawley ที่ได้รับการปลูกถ่ายเซลล์มะเร็งตับสายพันธุ์ AS-30D. การประชุมวิชาการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 13, 15-16 พฤษภาคม, กรุงเทพ, 2544.

46.    Khumphant E. Effect of Ocimum sanctum leaf extract on the micronucleus formation induced by cyclophosphamide in bone marrow cells of AS-30D hepatoma transplanted rats. Thesis (M.Sc.), Bangkok: Ma hidol University, 2002.

47.    Dhar ML, Dhar MM, Dhawan BN, Mehrotra BN, Ray C. Screening of Indian plants for biological activity: part I. Indian J Exp Biol 1968;6:232-45.

48.         Lagarto A, Tillan  J, Bueno V, et al. Acute and subchronic oral toxicity in rats of a lyophilized aqueous extract of Ocimum tenuiflorum L. Revista de Toxicologia (Elche, Spain) 2005;22(3):175-9.

49.         Pingale SS. Acute toxicity study of Ocimum sanctum. IRJP 2010; 1(1): 409-13.

50.         Sukglin T. Effect of Ocimum sanctum leaf extract on micronucleus formation induced by chemical mutagens in peripheral reticulocyte of ICR rat.  M.Sc. Thesis, Bangkok: Mahidol University, 2002.

51.         Batia SK, Santhakumari G. The antifertility effect of Ocimum sanctum and Hibicus rosa sinensis. Ibid 1970;59:777.

52.         Vohora SB, Garg SK. Chaudhurg RR. Antifertility screening of plant. Part III. Effect of six indigenous plants on early pregnancy in albino rats. Indian J Med 1969;57:893-9.

53.         Runnebaum B, Rabe T, Kiesel L, Prakash AO. Biological evaluation of some medicinal plant extracts for contraceptive efficacy in females. Future aspects in contraception. Part 2. Female contraception. Boston:MTP press, Ltd, 1984. p.115-28.

54.         Prakash. AO, Gupta RB, Mathur R. Effect of oral administration of forty-two indigenous plant on early and late pregnancy in albino rats. Probe 1978;17(4):315-23.

55.    Ungsurungsie M, Suthienkul O, Paovalo C. Mutagenicity screening of popular Thai spices.  Food Chem Toxicol 1982;20:527-30.

56.         Kruawan K, Kangsudalampai K, Butryee C. Effect of herbal drinks on mutagenicity of some direct mutagens in Ames Test. The 19th Annual Meeting TST (THAITOX-2002) on Carcinogenesis: from Molecular Mechanism to Chemoprevention, 20-22 December, Khonkaen, Thailand, 2002.

57.         Olayemi FO. A review on some causes of male infertility. Afr J Biotechnol 2010;9(20):2834-42. 

58.         ก กุลฑล. ตำรายาพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: ปรีชาการพิมพ์, 2524. หน้า 46.

59.         กองวิจัยทางการแพทย์. สมุนไพรพื้นบ้าน ตอนที่ 1. กรุงเทพฯ:กรมวิทยาศาตร์การแพทย์. กระทรวงสาธารณสุข, 2526. หน้า 15.

60.         บวร เอี่ยมบริบูรณ์. ดงไม้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2518. หน้า 32.