1. ชื่อสมุนไพร           หญ้าแห้วหมู

          ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyperus rotundus Linn.        

          ชื่อวงศ์           CYPERACEAE

          ชื่อพ้อง           ไม่มี

          ชื่ออังกฤษ        Nut grass, Purple nut sedge, Nut sadge

          ชื่อท้องถิ่น        หญ้าขนหมู

 

2. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

          ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีไหลและหัว ลำต้นสามเหลี่ยม สูง 10-60 เซนติเมตร ใบเดี่ยวเกี่ยวกับลำต้นรูปแถบ กว้าง 2-5 มิลลิเมตร ยาวถึง 60 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม กาบใบสีน้ำตาลอ่อน ดอกเป็นช่อกระจุกออกรวมเป็นช่อแยกแขนงที่ปลายยอด ใบประดับมีใบย่อย 9 ใบหรือมากกว่า รูปไข่ถึงรูปไข่แกมวงรี กว้าง 2 มิลลิเมตร ยาว 3-3.5 มิลลิเมตร ปลายมนมีติ่งหนามโค้งเล็กน้อย สีแดงหรือน้ำตาลแกมม่วง ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว รูปทรงกระบอกถึงรูปไข่กลับกึ่งทรงกระบอก มีสามมุม สีน้ำตาล กว้าง 0.5-0.7 มิลลิเมตร ยาว 1.3-1.5 มิลลิเมตร

 

3. ส่วนที่ใช้เป็นยาและสรรคุณ

          -ส่วนหัว          รักษาอาการแน่นจุกเสียด

 

4. สารสำคัญที่ออกฤทธิ์

          น้ำมันหอมระเหยจากหญ้าแห้วหมูมีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ  สารกลุ่มเทอร์ปีนมีฤทธิ์ต้านอาการแพ้ และสาร a-cyperone มีฤทธิ์แก้ปวด (1 25)

 

5. ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

          5.1   ฤทธิ์ยับยั้งการหดเกร็งและลดการบีบตัวของลำไส้

                 การทดสอบในหลอดทดลองพบว่าสารสกัดหญ้าแห้วหมูมีฤทธิ์ยับยั้งการหดเกร็งของลำไส้เล็กของหนูแรท และยังมีผลคลายกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้กระต่าย (2-6 1-5)

          5.2  ฤทธิ์ขับลม

                 หญ้าแห้วหมูมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีฤทธิ์ขับลม (7 6)

          5.3   ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

                 การทดสอบสารสกัดหญ้าแห้วหมูในหลอดทดลองพบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรียที่ก่อโรคได้หลายชนิด เช่น เชื้อในโรคทางเดินอาหาร ได้แก่ Escherichia coli,, Salmonella sp. เชื้อก่อโรคผิวหนัง ได้แก่ Staphylococcus aureus (8-15 7-14) ส่วนยาต้มจากหัวและลำต้นของหญ้าแห้วหมู มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อจุลินทรีย์อย่างอ่อน (16-18 15-17) นอกจากนี้ ส่วนของน้ำมันหอมระเหยจากหญ้าแห้วหมูยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่ดีเช่นกัน (19-22 18-21)

          5.4   ฤทธิ์แก้ปวด

       สารสกัด ยาต้มและน้ำมันหอมระเหยจากหัวหญ้าแห้วหมู และตำรับยาที่มีหญ้าแห้วหมูเป็นส่วนประกอบมีฤทธิ์แก้ปวดเมื่อทดลองในหนูแรท (23-26, 1 22-25) ในปัจจุบันมีการจดสิทธิ์บัตรตำรับยาที่มีหญ้าแห้วหมูเป็นส่วนประกอบ ใช้แก้ปวด (27 26) ปวดประจำเดือน (28 27) และปวดกระเพาะอาหาร (29 28)

 

6. อาการข้างเคียง

          ยังไม่มีรายงาน

 

7. ความเป็นพิษทั่วไปและต่อระบบสืบพันธุ์

7.1  การทดสอบความเป็นพิษ

                 การรับประทานสารสกัดด้วยน้ำร้อนของตำรับยาที่มีหญ้าแห้วหมูเป็นส่วนประกอบ ทำให้ผู้หญิงที่ท้องนอกมดลูก 42 คน แท้งโดยจะทำให้ก้อนเนื้อหายไป ไม่มีการตกเลือดและช่วยลดอาการปวด (30 43)  ส่วนการป้อนหนูแรทที่ตั้งท้องด้วยสารสกัดด้วยเอทานอล พบว่าไม่มีผลยับยั้งการฝังตัวของตัวอ่อน (31, 32 36, 41)  ระยะเวลาการตั้งครรภ์ และช่วงเวลาในการคลอดของหนู แต่มีผลทำให้มีการสูญเสียลูกหนูมากขึ้น โดยทำให้ลูกหนูฝ่อหายไปหรือคลอดออกมาตาย

       ส่วนสารสกัดด้วยเอทานอล ไม่ว่าจะให้โดยการกรอกทางปากและฉีดเข้าใต้ผิวหนังของหนูถีบจักร ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่พบความเป็นพิษใด ๆ  (33-42, 29-38)  นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดด้วยน้ำหรือเมทานอล ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ในเชื้อแบคทีเรีย (33, 43 30, 40)

 

8. วิธีการใช้หญ้าแห้วหมูรักษาอาการแน่นจุกเสียด

8.1   ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)

       นำหัวแห้วหมู 1 กำมือ (60-70 หัว หรือหนัก 15 กรัม) ทุบให้แตก แล้วต้มในน้ำสะอาด คั้นเอาเฉพาะน้ำมาดื่ม หรือใช้หัวสดครั้งละ 5 หัว โขลกให้ละเอียดผสมน้ำผึ้ง รับประทาน (44)

8.2   ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ

                            ไม่มี

 

 

 

เอกสารอ้างอิง 

1.             Sankawa U. Modulators of arachidonate cascade contained in medicinal plants used in traditional medicine. Abstr 3rd Congress of the Federation of Asian and Oceanian Biochemists, Bangkok, Thailand, 1983. p.28.

2.             Woo WS, Lee EB. The screening of biological active plants in Korea using isolated organ preparations. I. Anticholinergic and oxytocic actions in the ileum and uterus. Ann Rep Nat Prod Res Inst Seoul Natl Univ 1976;15:138.

3.             Itokawa H, Mihashi S, Watanabe K, Natsumoto H, Hamanaka T. Studies on the constituents of crude drugs having inhibitory activity against contraction of the ileum caused by histamine or barium chloride. (1). Screening test for the activity of commercially available crude drugs and the related plant materials.  Shoyakugaku Zasshi 1983;37(3):223-8.

4.             Mokkhasmit M, Ngarmwathana W, Sawasdimongkol K, Permphiphat U.  Pharmacological evaluation of Thai medicinal plants. (continued from A03022).  J Med Assoc Thai 1971;54(7):490-504.

5.     โสภิต ธรรมอารี จันทิมา ปโชติการ มณฑิรา ตัณฑ์เกยูร จันทนี อิทธิพานิชพงศ์. ฤทธิ์ของยาสมุนไพร 30 ชนิด ที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคท้องร่วงและบิดต่อการบีบตัวของลำไส้เล็กของหนูตะเภา. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2528;29(1):39-51.

6.             Singh N, Kulshrestha VK, Gupta MB, Shargava KP. A pharmacological study of Cyperus rotundus. Indian J Med Res 1970;58(1):103-9.

7.             Ross M.S.F., Brain K.R. An introduction to phytopharmacy. London: Pithman Medical Publishing Co. Ltd., 1977:158-76.

8.             Almagboul AZ, Bashir AK, Farouk A, Salih AKM. Antimicrobial activity of certain Sudanese plants used in folkloric medicine. Screening for antibacterial activity (IV). Fitoterapia 1985;56(6):331-7.

9.             Khan MR, Ndaalio G, Nkunya MH, Wevers H, Sawhney AN. Studies on African medicinal plant. part I. Preliminary screening of medicinal plants for antibacterial activity. Planta Med Suppl 1980;40:91-7.

10.    เผด็จ สังขไพฑูรย์  ปิยนันท์  สังขไพฑูรย์  โสภา คำมี.  ศึกษาสารสกัดสมุนไพร 15 ชนิด ในการต้านฤทธิ์แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคเต้านมอักเสบในโคนม. การประชุมวิชาการสมุนไพรไทยโอกาสและทางเลือกใหม่ของอุตสาหกรรมผลิตสัตว์, 24-25 ตุลาคม, กรุงเทพฯ, 2545. หน้า 298-308.

11.         Valsaraj R, Pushpangadan P, Smitt UW, Adsersen A, Nyman U. Antimicrobial screening of selected medicinal plants from India. J Ethnopharmacol 1997;58(2):75-83.

12.    อารีรัตน์ ลออปักษา สุรัตนา อำนวยผล วิเชียร จงบุญประเสริฐ. การศึกษาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ (ตอนที่ 1). ไทยเภสัชสาร 1988;13(1):23-36.

13.         Chaiyasothi T, Rueaksopaa V. Antibacterial activity of some medicinal plants.  Undergraduate Special Project Report, Bangkok: Mhidol University, 1975.

14.         Sripanidkulchai B, Tattawasart U, Laupattarakasem P, Wongpanich V. Anti-inflammatory and bactericidal properties of selected indigenous medicinal plants used for dysuria. Thai J Pharm Sci 2002;26(1/2): 33-8.

15.         Bae EA, Han MJ, Kim NJ, Kim DH. Anti-Helicobacter pylori activity of herbal medicines. Biol Pharm Bull 1998;21(9):990-2.

16.         Chen CP, Lin CC, Namba T. Screening of Taiwanese crude drugs for antibacterial activity against Streptococcus mutans. J Ethnopharmacol 1989;27(3):285-95.

17.         Choe TY. Antibacterial activities of some herb drugs. Korean J Pharmacog 1986;17(4):302-7.

18.         183 Chen CP, Lin CC, Namba T. Development of natural crude drug resources from Taiwan (VI). In vitro studies of the inhibitory effect on 12 microorganisms. Shoyakugaku Zasshi 1987;41(3):215-25.

19.         Radomir S, Dev S, Sirsi M. Chemistry and antibacterial activity of nut grass.  Curr Sci 1956;25:118-9.

20.         Hussein Ayoub SM. Amtibacterial and antifungal activities of some Libyan aromatic plants. Planta Med 1990;56:644-5.

21.         Kilani S, Abdelwahed A, Ben Ammar R, et al. Chemical composition, antibacterial and antimutagenic activities of essential oil from (Tunisian) Cyperus rotundus. J Essent Oil Res 2005;17(6):695-700.

22.         Bagchi GD, Singh A, Khanuja SPS, Bansal RP, Singh SC, Kumar S. Wide spectrum antibacterial and antifungal activities in the seeds of some coprophilous plants of north Indian plains. J Ethnopharmacol 1999;64:69-77.

23.         Gupta MB, Palit TK, Bhargava KP. Pharmacological studies to isolate the active constituents from Cyperus rotundus possessing anti-inflammatory, anti-pyretic and analgesic activities. Indian J Med Res 1971;59:76.

24.         Thabrew MI, Dharmasiri MG, Senaratne L. Anti-inflammatory and analgesic activity in the polyherbal formulation Maharasnadhi Quathar. J Ethnopharmacol 2003;85:261-7.

25.         Vu VD, Mai TT. Study on analgesic effect of Cyperus stoloniferus Retz. Tap Chi Duoc Hoc 1994;1:16-7.

26.         Sankawa U. Modulators of arachidonate cascade contained in medicinal plants used in traditional medicine.  Abstr 3rd Congress of the Federation of Asian and Oceanian Biochemists, Bangkok, Thailand, 1983. p.28.

27.         Zhang Q. Manufacture of orally disintegrating xintongning tablets. Patent: Faming Zhuanli Shenqing Gongkai Shuomingshu CN 1593626, 2005:19pp. 

28.         Liu Z,Liu L. Manufacture of traditional Chinese medicine composition for treating gynecopathy. Patent: Faming Zhuanli Shenqing Gongkai Shuomingshu CN 1857690, 2006:10pp.

29.         Wang Z. Chinese medicinal composition for treating gastropathy and preparation method thereof. Patent: Faming Zhuanli Shenqing Gongkai Shuomingshu CN 1857674, 2006:7pp.

30.         Zhu FQ, Zhang WJ, Xu JX. Experience of treating 42 cases of ectopic pregnancy by the method of combining TCM and western medicine.  Zhejiang-Zhongyi Zazhi 1982;17:102.

31.         Dhawan BN, Dubey MP, Mehrotra BN, Rastogi RP, Tandon JS. Screening of Indian plants for biological activity. Part IX. Indian J Exp Biol 1980;18:594-606.

32.         Smitasiri Y. Effects of aqueous extract from Carthamus tinctorius, Cyperus rotundus and Eupatorium odoratum on implantation and parturition in rats.  วารสารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2522;6(1):10-8.

33.         Mokkhasmit M, Swatdimongkol K, Satrawaha P. Study on toxicity of Thai medicinal plants. Bull Dept Med Sci 1971;12(2/4):36-65.

34.    โสภิต ธรรมอารี สมบูรณ์ เกียรตินันทน์ สีหณัฐ ธนาภรณ์ กรกนก อิงคนินันท์ ลือชา บุญทวีกุล สุพัตรา โล่ห์สิริวัฒน์.  การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาทั่วไป และพิษวิทยาของสมุนไพรมะเม่าและสมุนไพรไทย 4 ชนิดที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย หรือกระตุ้นภูมิคุ้มกัน.  การสัมมนาการเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านการพัฒนาสมุนไพร, 31 กรกฏาคม-1สิงหาคม, กรุงเทพฯ, 2546. หน้า 21-36.

35.         Thanabhorn S, Jaijoy K, Thamaree S, et al. Acute and subacute toxicities of the ethanol extract from the rhizomes of Cyperus rotundus Linn. J Pharm Sci 2005;32(1-2):15-22.

36.         Khalmatov KK, Bazhenova ED. The diuretic action of some wild plants of Uzbekistan. Tr Tashk Farm Inst 1966;4:5.

37.         Mohsin A, Shah AH, Al-Yahya MA, Tariq M, Tanira MOM, Ageel AM. Analgesic antipyretic activity and phytochemical screening of some plants used in traditional Arab system of medicine. Fitoterapia 1989;60(2):174-7.

38.         Akperbekova BA,  Abdullaev RA. Diuretic effect of drug from and galenicals from the roots of Cyperus rotundus growing in Azerbaidzhan. Izv Akad Nauk Az SSR Ser Biol Nauk 1966;4:98-105.

39.         Woo WS, Lee EB, Chang I. Biological evaluation of Korean medicinal plants. II. Yakhak Hoe Chi 1977;21:177-83.

40.         Dhawan BN, Dubey MP, Mehrotra BN, Rastogi RP, Tandon JS. Screening of Indian plants for biological activity. Part IX. Indian J Exp Biol 1980;18:594-606.

41.    บังอร ศรีพานิชกุลชัย และคณะ. การศึกษาเพื่อพัฒนาการใช้สมุนไพร การศึกษาพฤติกรรม ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของการใช้พืชสมุนไพรรักษาอาการขัดเบา. รายงานผลการวิจัยเอกสารด้านการแพทย์แผนไทย รวบรวมโดยศูนย์ประสานงานการพัฒนาการแพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย กองแผนงานสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวง  สาธารณสุข, 2535.

42.         Singh N, Nath R, Singh DR, Gupta ML, Kohli RP. An experimental evaluation of protective effects of some indigenous drugs on carbon tetracholoride-induced hepatotoxicity in mice and rats. Q J Crude Drug Res 1978;16(1):8-16.

43.         Morimoto I, Watanabe F, Osawa T, Okitsu T, Kada T. Mutagenicity screening of crude drugs with Bacillus subtilis Rec-assay and Salmonella/microsome reversion assay. Mutat Res 1982;97:81-102.

44.         กองวิจัยการแพทย์.  สมุนไพรพื้นบ้าน ตอนที่ 1.  กรุงเทพฯ: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2526. หน้า 118.