กระเจี๊ยบแดง





ชื่อวิทยาศาสตร์            Hibiscus sabdariffa L.

วงศ์                         Malvaceae

ชื่อพ้อง                    -

ชื่ออื่นๆ                     กระเจี๊ยบเปรี้ยว ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง ส้มปู ส้มพอเหมาะ Jamaica sorrel,

Roselle of rama

สารออกฤทธิ์                flavonoids (1), gossypetin (2), polysaccharides (1)

 

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับแก้ไอ 

1. ฤทธิ์ลดการอักเสบ

            สารสกัดกลุ่ม flavonoids และกลุ่ม polysaccharides ในกระเจี๊ยบแดง สามารถยับยั้งการอักเสบที่อุ้งเท้าของหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยเชื้อยีสต์ แต่ไม่มีผลลดการอักเสบหากเหนี่ยวนำด้วยสาร carrageenan (1) สาร gossypetin จากดอกกระเจี๊ยบ ขนาด 100 มก./กก. (ไม่ระบุวิธีการให้) สามารถลดการอักเสบของอุ้งเท้าหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้อักเสบด้วย carragenan ได้ 52.05% เปรียบเทียบกับ Ketorolac tromethamine ซึ่งให้ผลลดการอักเสบ 56.73% นอกจากนี้ยังมีผลลดการอักเสบในหนูขาว albino เพศผู้ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยการฝังก้อนสำลีไว้ภายในช่องท้อง (2) การทดลองทางคลินิกในผู้ป่วย 50 คน ที่เป็นโรคนิ่วที่ไต โดยให้รับประทานยาต้มผลกระเจี๊ยบขนาด 3 ./คน โดยรับประทานวันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน และให้รับประทานไปจนถึง 1 ปี พบว่าสามารถลดการอักเสบของนิ่วที่ไตได้ (3)

            2. ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

          น้ำมันและสารที่ทำให้ไม่เกิดฟองของกระเจี๊ยบ (ไม่ระบุขนาดที่ใช้) มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Pseudomonas aeruginosa (4) สารสกัดเมทานอลจากดอก ความเข้มข้น 200 มค../มล. ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ P. aeruginosa สายพันธุ์ที่ดื้อยา ไม่ว่าจะใช้สารสกัดเพียงอย่างเดียวหรือใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะ penicillin G, chloramphenicol, gentamycin, cephalexin, erythromycin, tetracycline และ nalidixic acid แต่จะยับยั้งเชื้อ P. aeruginosa สายพันธุ์มาตรฐาน เมื่อใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะ chloramphenicol, gentamycin, cephalexin, tetracycline และ nalidixic acid (5) สารสกัดดังกล่าวสามารถยับยั้งเชื้อ  Staphylococcus aureus ที่ดื้อต่อยา methicillin (MRSA) เมื่อใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะ chloramphenicol, gentamycin และ tetracycline และยับยั้งเชื้อ S. aureus สายพันธุ์มาตรฐาน เมื่อใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะ penicillin G, chloramphenicol  และ cephalexin  (6)

 

หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ

ดูรายละเอียดในแก้โรคอุจจาระร่วง

 

จะเห็นได้ว่ากระเจี๊ยบแดงจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอและขับเสมหะเพราะช่วยเรื่องลดการอักเสบ และความเปรี้ยวอาจจะช่วยให้ชุ่มคอ

 

เอกสารอ้างอิง

1.   Dafallah AA, Al-Mustafa Z.  Investigation of the anti-inflammatory activity of Acacia nilotica and Hibiscus sabdariffa.  The American Journal of Chinese Medicine 1996;24(3-4):263-9.

2.   Mounnissamy VM, Gopal V, Gunasegaran R, Saraswathy A.  Antiinflammatory activity of gossypetin isolated from Hibiscus sabdariffa.  Indian Journal of Heterocyclic Chemisrtry 2002;12(1):85-6.

3.   Anon.  Verasing mungumu (1982).  The use of medicinal herbs for the treatment of kidney stone in the urinary system.  Bangkok Thailand 1982:117.

4.   Gangrade H, Mishra SH, Kaushal R.  Antimicrobial activity of the oil and unsaponifiable matter of red roselle.  Indian drugs 1979;16(7):147-8.

5.   Aburjai T, Darwish RM, Al-Khalil S, Mahafzah A, Al-abbadi A.  Screening of antibiotic resistant inhibitors from plant materials against two different strains of Pseudomonas aeruginosa.  J Ethnopharmacol 2001;76:39-44.

6.   Darwish RM, Aburjai T, Al-Khalil, Mahafzah A.  Screening of antibiotic resistance inhibitors from local plant materials against two different strains of Staphylococcus aureus.  J Ethnopharmacol 2002;79:359-64.